HUAWEI ผลักดันประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัลสีเขียว นำทุกฝ่ายก้าวไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง


ในปัจจุบัน เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ยุค 5.0 ซึ่งมนุษย์สามารถใช้เทคโนโลยีอำนวยความสะดวกในทุกมิติของชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้คนและสังคม โดยที่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติน้อยลงกว่าที่เคย การเตรียมความพร้อมสำหรับยุค 5.0 จึงเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้น เพราะจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่และโอกาสที่เพิ่มขึ้นสำหรับทุกคน เพื่อให้ไม่มีใครถูกทิ้งไว้เบื้องหลังจากเทรนด์ใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ องค์กรต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนจึงต้องหันหน้ามาร่วมหารือกันว่าจะสนับสนุนภาคธุรกิจในด้านการลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการยกระดับความรู้ความสามารถที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ทางธุรกิจและการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน

หัวเว่ย ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารชั้นนำระดับโลก มุ่งมั่นในพันธกิจที่จะนำองค์กรไปสู่การเปลี่ยนผ่านที่ไม่ทิ้งใครเอาไว้เบื้องหลัง โดยนำหลักการความยั่งยืนมาผนวกเข้ากับกลยุทธ์ธุรกิจ นอกจากนี้ บริษัทฯยังตั้งเป้าที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร ให้ประเทศไทยเชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์แบบด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยกับสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กประเทศไทยและสหประชาชาติในประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand: UNGCNT) ทำให้ได้คิดค้นวิธีที่จะเพิ่มศักยภาพของผู้คนในชีวิตประจำวัน สร้างแรงบันดาลใจให้องค์กรทุกขนาดได้สร้างสรรค์นวัตกรรม รวมทั้งช่วยผลักดันให้ประเทศไทยไปถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)

ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวย้ำถึงบทบาทของหัวเว่ยในการปูทางสู่การเปลี่ยนผ่านไปยังสังคมที่ทุกคนมีความเท่าเทียมด้านดิจิทัลได้ในระดับโลกว่า “หัวเว่ยวางกลยุทธ์สร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจของเรา ด้วยการทำให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืน และปูทางเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ความเท่าเทียมทางดิจิทัลทั่วทั้งโลก เรามุ่งมั่นที่จะใช้เทคโนโลยีในการช่วยยกระดับสังคมสามารถเห็นได้จากกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของเรา ซึ่งได้แก่ความเท่าเทียมทางด้านดิจิทัล ความปลอดภัยและคามน่าเชื่อถือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการสร้างระบบนิเวศที่เข้มแข็งและสมดุล เราเชื่อมั่นว่าการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และกลยุทธ์ในการสร้างพันธมิตร จะช่วยให้เราผลักดันโลกไปสู่ความเท่าเทียมและความยั่งยืนทางดิจิทัลที่มากยิ่งขึ้น”

ดร.ชวพลยังเน้นย้ำถึงเรื่องการกำหนดนโยบายที่สนับสนุนความเท่าเทียมทางด้านดิจิทัล โดยกล่าวว่าหัวเว่ยได้ร่วมมือกับหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรในระดับโลกมากมาย เนื่องจากเห็นความสำคัญของการจัดทำกฎระเบียบและข้อบังคับเพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล ในขณะเดียวกัน โลกดิจิทัลก็กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาพร้อมกับประโยชน์ใช้สอยมากมาย แต่ก็พ่วงมาด้วยความเสี่ยงหากตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่ประสงค์ดี ด้วยเหตุนี้ หัวเว่ยจึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ผ่านโครงการฝึกอบรม และโครงการเพื่อการศึกษาต่าง ๆ เพื่อเสริมศักยภาพให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถ มีทักษะที่เหมาะสม ในการใช้ประโยชน์และความพร้อมในการรับมือต่อความเสี่ยงซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในยุคดิจิทัล

ในด้านภารกิจเพื่อผลักดันความเท่าเทียมทางด้านดิจิทัล ดร.ชวพลกล่าวว่า: “เทคโนโลยีคือสะพานที่จะเชื่อมไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของผู้คน และนำประเทศไทยไปสู่ความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายเรื่องนี้ เราได้ร่วมมือกับองค์กรสหประชาชาติ องค์กรภาคเอกชน สถาบันวิทยาศาสตร์ รัฐบาล ผู้ให้บริการ และลูกค้าองค์กรของเราอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบัน เราภูมิใจที่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรกว่า 40 องค์กรทั่วโลก ในการรังสรรค์โครงการร่วมกันกว่า 60 โครงการ โดยโครงการ TECH4ALL ซึ่งเป็นโครงการระยะยาวเพื่อสร้างความเท่าเทียมด้านดิจิทัลของหัวเว่ย ได้ประสบความสำเร็จไปอีกขั้น จากการได้ช่วยสนับสนุนให้โรงเรียนกว่า 600 แห่ง พร้อมครู นักเรียน และเยาวชนที่ยังไม่มีงานทำ รวมกว่า 220,000 คน ได้มีโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ต รวมทั้งได้รับการฝึกอบรมทักษะดิจิทัล นอกจากนี้ โครงการนี้ยังช่วยเพิ่มศักยภาพของเขตอนุรักษ์ทางธรรมชาติ 46 เขตทั่วโลก ด้วยการเสริมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ”

เทคโนโลยีของหัวเว่ยได้สร้างความแตกต่างให้แก่องค์กรและชีวิตคนมากมายทั่วประเทศ โดยได้นำพาเทคโนโลยีไปสู่ทุกคนแม้อยู่ในพื้นห่างไกลของประเทศไทย โดยโครงการต่าง ๆ ของหัวเว่ยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนชุมชน ส่งเสริมความเชื่อมโยง และยกระดับคุณภาพชีวิตในภาพรวมรวมให้แก่ผู้คนในพื้นที่ห่างไกล ตัวอย่างเช่น โครงการ TrackAI ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติสเปนกับหัวเว่ย ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ที่พิการทางสายตา โดยระบบตรวจสอบการมองเห็นของเด็กจะประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ของหัวเว่ย และประเมินว่าเด็กคนนั้น ๆ มีสัญญาณความบกพร่องด้านการมองเห็นหรือไม่ ซึ่งนับตั้งแต่โครงการนี้เปิดตัวเมื่อสามปีก่อน ได้มีการตรวจสอบตาให้เยาวชนไปแล้วกว่า 4,500 คน ใน 5 ประเทศ

ความมุ่งมั่นในการสร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัลของหัวเว่ย ยังปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดในโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคม ที่ริเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ในประเทศไทย โดยโครงการนี้ได้ช่วยสนับสนุนความเท่าเทียมทางดิจิทัลผ่านการอบรบทักษะเทคโนโลยีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในพื้นที่ 10 จังหวัดชนบท ครอบคลุม 40 ชุมชนในพื้นที่ห่างไกล โดยได้อบรมเด็ก ๆ บุคลากร และธุรกิจขนาดเล็กในชนบทไปแล้วกว่า 4,000 คน ซึ่งหัวเว่ยได้มีส่วนในการส่งเสริมการพัฒนาทักษะดิจิทัลและสะเต็มศึกษา (STEM Education) รวมทั้งปูพื้นฐานให้การเรียนรู้ที่เท่าเทียมผ่านโครงการดังกล่าว นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้จับมือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในโครงการ USO 2.0 จากการเล็งเห็นช่องว่างทางดิจิทัลในพื้นที่ชนบท โดยหัวเว่ยได้นำโซลูชัน AirPON มาใช้ขับเคลื่อนการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตบนเครือข่ายไฟเบอร์สู่หมูบ้านจำนวน 19,652 หมู่บ้าน โครงการนี้ไม่เพียงแต่ลดช่องว่างทางดิจิทัล แต่ยังช่วยปลดล็อคบริการที่จำเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่บริการด้านสาธารณสุขทางไกล การศึกษา และการซื้อขายผ่านออนไลน์ ทั้งยังเป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการเชื่อมต่อและมอบเทคโนโลยีให้กับผู้คนแม้อยู่ในชุมชนห่างไกล อันจะปูทางไปสู่ความเท่าเทียมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

“หัวเว่ยเข้าใจถึงบทบาทของกฏหมายในการลดช่องว่างทางดิจิทัล จึงเน้นผลักดันนโยบายที่สนับสนุนความเท่าเทียมทางดิจิทัล เราให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก ด้วยการทำโครงการฝึกอบรมและโครงการด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัล นอกจากนี้ หัวเว่ยยังมุ่งมั่นในพันธกิจ “เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย” และ “นำทุกฝ่ายก้าวไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง” ด้วยการมุ่งเน้นสนับสนุนประเทศไทยในการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล และการหันมาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสีเขียว” ดร.ชวพลกล่าวเสริมในตอนท้าย
ใหม่กว่า เก่ากว่า