Universal-Robots หนุนผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในไทยใช้หุ่นยนต์โคบอทช่วยในการผลิต


ท่ามกลางการเติบโตอย่างมากในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าของไทย ความช่วยเหลือจากหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน

สามารถช่วยให้ผู้ผลิตจัดการกับความต้องการอย่างมหาศาลได้

ยูนิเวอร์ซัล โรบอท บริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน (โคบอท) จากประเทศเดนมาร์ก พร้อมหนุนผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในประเทศไทยใช้หุ่นยนต์โคบอทช่วยการผลิต เพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาด ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น นโยบายของรัฐบาล และมาตรฐานการปล่อยก๊าซที่เข้มงวดขึ้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญไปทั่วโลกสู่อีวีมากกว่ายานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในทั่วไป ประเทศไทยได้ก้าวตามกระแสนี้ตั้งแต่แรกเริ่ม และพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางหรือฮับด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาค

ตลาดอีวีของไทยและการเป็นศูนย์กลาง(ฮับ)ของภูมิภาค

เมื่อปีที่แล้วบริษัทบีวายดี (BYD) ยักษ์ใหญ่ด้านรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนได้มีข้อตกลงด้านการผลิตกับไทย ทำให้ตลาดอีวีของไทยคาดว่าจะสูงถึง 178.80 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2566 และคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตต่อปีที่ 22.31% จนถึงปี 2570 ข้อตกลงนี้สอดคล้องกับรัฐบาลไทยที่มีแผนเปลี่ยน 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดเป็น อีวีภายในปี 2573

ด้วยเป้าหมายที่จะเริ่มผลิตรถยนต์นั่ง 150,000 คันต่อปีตั้งแต่ปี 2567 และตั้งเป้าขายในประเทศ 10,000 คัน ที่เหลือจะส่งออกไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป เท่ากับเป็นการตอกย้ำบทบาทของไทยในฐานะศูนย์กลางการผลิตอีวีในภูมิภาค นายธนกฤต ธานีรัตน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นแถวหน้าของอีวีด้านระบบอัตโนมัติ และนโยบายที่มาพร้อมกับข้อตกลงกับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ด้วยความมุ่งมั่นในการผลิตอีวี และการให้ประเทศเป็นศูนย์กลางอีวีของภูมิภาค อาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านการผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งหุ่นยนต์โคบอทจะสามารถเข้ามาช่วยได้”


โคบอทและการลดปัญหาด้านการผลิต

เพื่อสนับสนุนการเดินทางสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตอีวีในอาเซียนของประเทศไทย การนำหุ่นยนต์โคบอทมาใช้สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ที่เผชิญในอุตสาหกรรมการผลิตได้ เนื่องจากกระบวนการประกอบบางส่วนต้องมีการนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติเฉพาะเพื่อให้มั่นใจถึงมาตรฐานผลิตภัณฑ์ โคบอทจึงนำเสนอโซลูชันสำหรับผู้ผลิต

ข้อกำหนดการผลิตประกอบด้วยคุณภาพและความสามารถในการทำซ้ำ การยศาสตร์ ความแม่นยำในการใช้งาน ตลอดจนคุณภาพ แอปพลิเคชันที่ทำงานร่วมกันช่วยแก้ไขปัญหาการดำเนินงานเหล่านี้ สามารถปรับปรุงงานการผลิตที่ทำด้วยตนเองก่อนหน้านี้ “โคบอทสามารถช่วยประกันความต้องการด้านคุณภาพได้ รวมทั้งช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องทำงานซ้ำๆ และต้องใช้แรงกายมาก” นายธนกฤตกล่าว “ความมหัศจรรย์ของการทำงานร่วมกันระหว่างคนกับเครื่องจักรคือการที่พนักงานสามารถทำงานในกระบวนการที่มีมูลค่ามากกว่าและต้องการการสัมผัสของมนุษย์”

สำหรับที่อื่นๆ อาทิ เฟียต 500 (Fiat 500) ที่เป็นไอโคนิคของรถยนต์ได้เข้ามาในกลุ่มอีวีเช่นเดียวกัน แบรนด์อิตาลีนี้กำลังนำเสนอรถยนต์รุ่นไฟฟ้าที่แตกต่าง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวหมายถึงสายการผลิตของรถยนต์จำเป็นต้องมีการนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติเฉพาะมาใช้เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้มีการใช้หุ่นยนต์ โคบอทของยูอาร์ถึง11 ตัวที่โรงงานเพื่อช่วยในการผลิต และสามารถทำงานร่วมกับพนักงานที่มีอายุมากโดยเฉลี่ยได้

โคบอทได้ช่วยงานต่างๆ ได้แก่ การใช้วัสดุกันน้ำที่ประตูรถ การตรวจสอบขนาดของซอฟต์ท็อป การติดฝากระโปรงหน้ารถ และการขันบานพับประตูด้านหลัง เป็นต้น


ก้าวทันการทำงานอัตโนมัติและการเติบโตที่มั่นคง

เมื่อประเทศไทยกำลังเติบโตเป็นศูนย์กลางการผลิตอีวีของภูมิภาค ระบบอัตโนมัติจะเป็นกุญแจสำคัญในการเติบโตในอุตสาหกรรม “เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตอีวี เป็นหนึ่งในจุดแข็งของประเทศ สิ่งสำคัญคือต้องเสริมความแข็งแกร่งให้มากขึ้น” นายธนกฤตกล่าว

สำหรับการใช้งานหุ่นยนต์ในภาคการผลิตของไทยนั้นยังน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2562 และต่ำกว่าคู่แข่งในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยใช้หุ่นยนต์เพิ่มขึ้น 36% ในปี 2564 และมีทิศทางที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยปรับปรุงภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงภาคการผลิตอีวี “โดยรวมแล้ว การนำระบบอัตโนมัติมาใช้จะช่วยให้เกิดประสิทธิผลและความสามารถในการทำกำไรเนื่องจากประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะปรับปรุงอุตสาหกรรมให้ดียิ่งขึ้นและทำให้ดึงดูดนักลงทุนมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาคส่วนเติบโตต่อไป”
ใหม่กว่า เก่ากว่า