HUAWEI เผยรายงานโลกอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2573 (Intelligent World 2030 Report) ร่วมค้นหาเทรนด์ใหม่ในทศวรรษหน้า


หัวเว่ย พร้อมพันธมิตรในอุตสาหกรรม ได้จัดการประชุมโลกอัจฉริยะแห่งอนาคตปี พ.ศ. 2573 (Intelligent World 2030 Forum) โดยมีคุณเดวิด หวัง (David Wang) กรรมการบริหารและประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชันทางด้าน ICT ของบริษัทหัวเว่ย นำเสนอรายงานโลกอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2573 พร้อมกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ สำรวจโลกอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2573 (Exploring the Intelligent World 2030) นับเป็นครั้งแรกที่หัวเว่ยได้ใช้วิธีการทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเพื่ออธิบายถึงโลกอัจฉริยะทศวรรษหน้าและคาดการณ์ทิศทางอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ ช่วยให้อุตสาหกรรมต่างๆ สามารถเล็งเห็นถึงโอกาสใหม่ๆ และค้นพบคุณค่าใหม่

ช่วงสามปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกกับนักวิชาการ ลูกค้า และพันธมิตรในอุตสาหกรรมกว่า 1,000 ราย จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกว่า 2,000 ครั้ง รวมถึงรวบรวมข้อมูลและแนวทางจากองค์กรที่มีอำนาจต่างๆ อาทิ สหประชาชาติ สภาเศรษฐกิจโลก และองค์การอนามัยโลก หัวเว่ยยังได้นำข้อมูลเชิงลึกจากบทความทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เช่น เนเจอร์ (Nature) และไออีอีอี (IEEE) และนำข้อมูลความรู้จากสมาคมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและบริษัทที่ปรึกษาต่างๆ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภายในและภายนอกหัวเว่ย มาสู่การจัดทำรายงานโลกอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2573 นี้เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ทางด้านเทคโนโลยี ICT และแนวทางของแอปพลิเคชันต่างๆ ในทศวรรษหน้า


รายงานดังกล่าวนำเสนอทิศทางการสำรวจในระดับมหภาคข้ามสาขาวิชา (cross-disciplinary) และข้ามองค์ความรู้ (cross-domain) ใน แนวทางด้วยกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยี ICT สามารถแก้ปัญหาและความท้าทายสำคัญเกี่ยวกับพัฒนาการมนุษย์ได้อย่างไรบ้าง และมีโอกาสใหม่ๆ อะไรบ้างสำหรับองค์กรและบุคคลต่างๆ  สำหรับในระดับอุตสาหกรรม รายงานฉบับนี้ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีอนาคต และทิศทางการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสาร ระบบคอมพิวเตอร์ พลังงานดิจิทัล และโซลูชันทางด้านยานยนต์อัจฉริยะ

คุณเดวิด หวัง กล่าวว่า "เมื่อ 30 ปีที่แล้ว เราตัดสินใจพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านระบบสื่อสาร 10 ปีที่แล้ว เราตัดสินใจเชื่อมต่อทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกันเพื่อสร้างโลกที่เชื่อมโยงกันที่ดียิ่งขึ้น และทุกวันนี้ วิสัยทัศน์และพันธกิจของเราคือารนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่ทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ  ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าโลกอัจฉริยะกำลังมาถึงอย่างรวดเร็ว"

แขกผู้มีเกียรติที่มีชื่อเสียงหลายท่านที่ร่วมกล่าวปาฐกถาในการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ สตีเวน จอห์นสัน นักอนาคตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเฉิน จิงจวน (Chen Qingquan) ประธานผู้ก่อตั้งและดำรงตำแหน่งตามวาระ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าโลก (World Electric Vehicle Association), เดนิส เดอปูซ์ (Denis Depoux) ประธานร่วมคณะกรรมการบริหารทั่วโลกของโรแลนด์ เบิร์ก (Roland Berg Global Management Committee) และหวัง ซีจิน (Wang Zhiqin) รองประธานสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศจีน (China Academy of Information and Communications Technology (CAICT)) ซึ่งต่างแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับโลกอัจฉริยะ และอธิบายว่าเทคโนโลยี ICT สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นได้อย่างไร

ในฐานะที่เป็นนักเขียนเกี่ยวกับอนาคตและวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง สตีเวน จอห์นสัน กล่าวว่า เรากำลังเข้าสู่ยุคการเติบโตแบบทบทวีคูณ  ทศวรรษที่กำลังจะมาถึงจะเป็นยุคทองของความร่วมมือระหว่างปัญญามนุษย์และปัญญาประดิษฐ์ และชุดคำสั่งต่างๆ (algorithms) จะช่วยเพิ่มศักยภาพปัญญามนุษย์  เมื่อเทคโนโลยีเติบโตอย่างทวีคูณ สังคมของเราก็จะได้ประโยชน์จากการนี้

การประชุมโลกอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2573 นับเป็นครั้งแรกที่หัวเว่ยได้นำเสนอวิสัยทัศน์และงานวิจัยที่มีความล้ำสมัยสู่ทศวรรษหน้าอย่างเป็นระบบ การนำเสนอองค์ความรู้นี้จะนำมาซึ่งคุณค่าต่อการพัฒนาสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเศรษฐกิจดิจิทัลและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลทั่วโลก

จินตนาการจะเป็นตัวกำหนดว่าเราจะไปได้ไกลเพียงใดในอนาคต ส่วนการกระทำจะเป็นตัวกำหนดว่า เราจะไปถึงอนาคตได้รวดเร็วเพียงใด และวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำนายอนาคตก็คือการสร้างอนาคตนั่นเอง  นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายอีกมากที่ต้องฝ่าฟันระหว่างทางไปสู่โลกอัจฉริยะ  ดังเช่นที่คุณเดวิด หวังได้กล่าวไว้ตอนท้ายว่า “เราเชื่อว่า ภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ย่อมพบได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกัน  ความฝันเป็นตัวขับเคลื่อนหลักต่อความก้าวหน้าทางสังคม  เพื่อก้าวไปสู่ทศวรรษหน้า เราควรมาร่วมกันสร้างโลกอัจฉริยะที่ดียิ่งขึ้นไปด้วยกัน”

ภาพรวมรายงาน:

ข้อมูลสำคัญจากงานโลกอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2573: เราจะมีชีวิตที่ดียิ่งขึ้นในปี พ.ศ. 2573 มีอาหารมากขึ้น มีพื้นที่ที่อยู่อาศัยกว้างขึ้น มีพลังงานทางเลือก บริการดิจิทัลต่างๆ และไม่มีปัญหาการจราจรติดขัดอีกต่อไป  เราจะสามารถขจัดงานที่ซ้ำซากและเป็นอันตรายไปไว้ที่เครื่องจักร และเข้าถึงบริการดิจิทัลอย่างมั่นคงปลอดภัย  เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เราได้กำหนดทิศทางการสำรวจในด้านต่างๆ เอาไว้ แนวทางด้วยกัน ได้แก่ สุขอนามัย อาหาร การดำรงชีวิต และการคมนาคม

ปี พ.ศ. 2573 เราจะสามารถคาดการณ์ปัญหาทางด้านสุขอนามัยที่อาจเกิดขึ้นได้โดยการคำนวณและสร้างแบบจำลองข้อมูลสาธารณสุขและทางการแพทย์ เปลี่ยนเป้าหมายจากการรักษาไปสู่การป้องกัน โซลูชันทางการแพทย์ที่มีความแม่นยำสูงจาก IoT และ AI จะกลายเป็นจริง

ปี พ.ศ. 2573 การเพาะปลูกในแนวตั้ง (vertical farms) ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศจะได้รับการประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งจะทำให้เราผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ (green food) ได้สำหรับทุกคน เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ (3D printing) จะทำให้เราสามารถผลิตเนื้อสัตว์สังเคราะห์ (artificial meat) เพื่อรองรับความต้องการทางโภชนาการของเราได้

บ้านและสำนักงานต่างๆ จะกลายเป็นอาคารที่มีการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (zero-carbon buildings)  เทคโนโลยี IoT รุ่นต่อไปจะสร้างสภาพแวดล้อมในบ้านที่สามารถเรียนรู้และปรับแต่งได้ตามความต้องการของเรา

ยานพาหนะที่ใช้พลังงานรูปแบบใหม่จะกลายเป็น “พื้นที่ที่สาม” แบบเคลื่อนที่ อากาศยานรูปแบบใหม่จะทำให้บริการฉุกเฉินต่างๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดต้นทุนการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ และเปลี่ยนแปลงวิธีการเดินทางของเรา

นอกจากด้านสุขอนามัย อาหาร ที่อยู่อาศัย และการคมนาคมแล้ว หัวเว่ยยังได้สำรวจอนาคตของเมืองต่างๆ พลังงาน วิสาหกิจ และความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของระบบดิจิทัล (digital trust)  เราหวังว่าจะได้ร่วมงานกับทุกท่านเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ที่ไร้ขอบเขตร่วมกันในปี พ.ศ. 2573

เครือข่ายการสื่อสารในปี พ.ศ. 2573ทศวรรษหน้า เป้าหมายและขอบเขตการเชื่อมต่อเครือข่ายจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง  ภายในปี พ.ศ. 2573 เมื่อเทคโนโลยีต่างๆ พัฒนาต่อไป เช่น เอ็กซ์เรย์ (XR) จอแสดงผลสามมิติด้วยตาเปล่า (naked-eye 3D display) สัมผัสทางดิจิทัล (digital touch) และกลิ่นดิจิทัล (digital smell) “ภาพดิจิทัล สัมผัสทางดิจิทัล และกลิ่นดิจิทัล” (digital vision, digital touch, and digital smell) จะสร้างประสบการณ์การมีส่วนร่วมและแตกต่างผ่านระบบเครือข่ายรุ่นใหม่ๆ ขณะเดียวกัน เมื่อระบบเครือข่ายพัฒนาจากการเชื่อมโยงผู้คนนับพันล้านไปเป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์นับร้อยพันล้านเครื่องแทน การออกแบบเครือข่ายจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมซึ่งให้ความสำคัญกับการรับรู้ของมนุษย์ไปสู่การรับรู้ของอุปกรณ์  เราจะเห็นการเกิดของโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบประมวลผลคอมพิวเตอร์ในหลากหลายระดับ ของอุปกรณ์นับร้อยพันล้านเครื่องและข้อมูลจำนวนมาก ตลอดจนเครือข่ายพลังงานคอมพิวเตอร์ที่รองรับความสามารถในการเชื่อมต่อ นอกจากนี้ ภาพจำลองระบบเครือข่ายอนาคตทั้งสี่ภาพจะค่อยๆ กลายเป็นจริง เป็นเครือข่ายที่จะทำให้เกิดประสบการณ์ต่อเนื่อง ทั้งที่บ้าน สำนักงาน และยานพาหนะ อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ระบบดาวเทียม อินเทอร์เน็ตสำหรับอุตสาหกรรม และเครือข่ายพลังงานคอมพิวเตอร์

และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในโลกอัจฉริยะ เครือข่ายการสื่อสารในปี พ.ศ. 2573 จะพัฒนาไปสู่เครือข่ายบรอดแบนด์แบบสามมิติ (cubic broadband networks) ประสบการณ์ที่กำหนดได้เอง (deterministic experience) รองรับปัญญาประดิษฐ์ (AI-native) ระบบคลาวด์ของหัวเว่ย (HCS) มีความมั่นคงปลอดภัยและเชื่อถือได้ และเป็นเครือข่ายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ  หัวเว่ยคาดการณ์ว่าจำนวนการเชื่อมต่อทั้งหมดทั่วโลกจะสูงถึง 2 แสนล้านจุดภายในปี พ.ศ. 2573 ขณะเดียวกัน การเข้าถึงเครือข่ายองค์กร การเข้าถึงเครือข่ายบรอดแบนด์ในบ้าน และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไร้สายรายบุคคลจะสูงกว่า 10 กิกะบิตต่อวินาที (Gbit/s) นับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคการเชื่อมต่อระดับ 10 กิกะบิตต่อวินาที (Gbit/s connectivity)

การประมวลผลคอมพิวเตอร์ในปี พ.ศ. 2573: ภายในปี พ.ศ. 2573 โลกดิจิทัลและโลกทางกายภาพจะเชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อ ทำให้ผู้คนและอุปกรณ์สามารถสื่อสารกันได้ทั้งทางการรับรู้และทางอารมณ์ AI จะปรากฏอยู่ทั่วทุกหนแห่ง และช่วยให้เราก้าวข้ามผ่านขีดจำกัดของมนุษย์ ทั้งยังทำหน้าที่เป็นกล้องจุลทรรศน์และกล้องส่องทางไกลสำหรับนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งต่าง ๆ นับตั้งแต่อนุภาคที่มีขนาดเล็กที่สุดไปจนถึงปรากฏการณ์ด้านจักรวาลวิทยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดได้  อุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่แล้วจะมีความได้เปรียบยิ่งขึ้นจาก AI ประสิทธิภาพทางด้านพลังงานระบบคอมพิวเตอร์จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้เราเข้าใกล้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (zero-carbon computing)  เทคโนโลยีดิจิทัลจะกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำหรับการบรรลุเป้าหมายทั่วโลกในการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality)

ระบบการประมวลผลคอมพิวเตอร์กำลังก้าวไปสู่ขีดจำกัดทางกายภาพ ด้วยเหตุนี้ นวัตกรรมทางด้านซอฟท์แวร์ สถาปัตยกรรม และระบบต่างๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ทั้งอุตสาหกรรมจำเป็นต้องร่วมกันสำรวจรากฐานใหม่สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ ทำลายข้อจำกัดทางกายภาพของเซมิคอนดัคเตอร์ และทำให้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น มีความมั่นคงปลอดภัยมากขึ้น และฉลาดมากขึ้น หัวเว่ยคาดการณ์ว่า ภายในปี พ.ศ. 2573 มนุษยชาติจะเข้าสู่ยุคข้อมูลระดับยอตตะไบต์ (yottabyte) ด้วยสมรรถนะของระบบคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทั่วไปเพิ่มสูงขึ้น 10 เท่า และมีสมรรถนะของระบบคอมพิวเตอร์ปัญญาประดิษฐ์เพิ่มขึ้น 500 เท่า

พลังงานดิจิทัลปี พ.ศ. 2573ในทศวรรษหน้า มนุษยชาติจะเข้าสู่ยุคแห่งพลังงานดิจิทัล มุ่งไปสู่การพัฒนาที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ การพัฒนาระบบไฟฟ้า และการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบอัจฉริยะ  แหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ (photovoltaic) และพลังงานลม จะค่อยๆ เข้ามาแทนที่เชื้อเพลิงฟอสซิล  เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีดิจิทัลจะผนวกรวมกันอย่างแนบแน่นเพื่อให้สามารถใช้ “ข้อมูลบริหารจัดการพลังงาน” (bit to manage watt) โดยตลอดระบบพลังงาน และสร้างแอพพลิเคชันส์อัจฉริยะต่างๆ บน “ระบบคลาวด์พลังงาน” (energy cloud) หัวเว่ยคาดการณ์ว่า ภายในปี พ.ศ. 2573 พลังงานแสงอาทิตย์จะกลายเป็นแหล่งพลังงานหลักแหล่งหนึ่งของเรา พลังงานทางเลือกในการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกจะมีสัดส่วนร้อยละ 50 และการแบ่งสันปันส่วนไฟฟ้าในการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายคาดว่าจะสูงกว่าร้อยละ 30 รถยนต์ไฟฟ้าซึ่งจะเป็นยานพาหนะใหม่ที่ถูกขายได้จะมีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 50 และพลังงานทางเลือกจะสามารถป้อนพลังงานรองรับโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลได้ถึงร้อยละ 80

โซลูชันยานยนต์อัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2573: ในทศวรรษหน้า การพัฒนาระบบไฟฟ้าและระบบอัจฉริยะไม่อาจหยุดยั้งได้ และเทคโนโลยี ICT จะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งจะมีการพัฒนาระบบขับขี่อัจฉริยะ (intelligent driving) พื้นที่อัจฉริยะ (intelligent spaces) บริการอัจฉริยะ (intelligent services) และระบบปฏิบัติงานอัจฉริยะ (intelligent operations)  หัวเว่ยหวังว่าจะใช้เทคโนโลยี ICT เพื่อช่วยสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์อัจฉริยะ และช่วยผู้ผลิตรถยนต์สร้างยานยนต์ที่ดีขึ้นได้

เป้าหมายสูงสุดของระบบขับขี่อัจฉริยะคือการใช้เทคโนโลยี เช่น ระบบขับขี่ไร้คนขับ (autonomous driving) เพื่อช่วยลด  การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และสร้างประสบการณ์การเดินทางที่มีประสิทธิภาพและไร้รอยต่อแก่ผู้ใช้  ปัจจุบันระบบขับขี่อัจฉริยะถูกจำกัดแต่เฉพาะบนถนนปิด เช่น ถนนที่มีการใช้ความเร็วสูง และถนนภายในองค์กรหรือสถาบันต่างๆ หากแต่จะค่อยมีการใช้งานเพิ่มมากขึ้นบนถนนสาธารณะ เช่น ถนนในเขตตัวเมือง  ยานพาหนะต่างๆ จะแปรสภาพเป็นพื้นที่อัจฉริยะแห่งใหม่ด้วยระบบ ICT เทคโนโลยีต่างๆ เช่น AI ระบบยืนยันตัวตนทางชีวภาพ (biometric recognition) อุปกรณ์ตรวจจับด้วยแสงในรถ (in-vehicle optical sensors) และเทคโนโลยี AR/VR จะนำมาซึ่งฟีเจอร์การใช้งานใหม่ๆ ในห้องขับขี่  ยานยนต์อัจฉริยะจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เป็นเพียงพื้นที่สำหรับการเคลื่อนที่ซึ่งมีความยืดหยุ่น (flexible mobile space) ไปเป็นพื้นที่ดำรงชีวิตแบบอัจฉริยะ (intelligent living space) ที่ผนวกรวมโลกเสมือนจริงและโลกทางกายภาพเข้าด้วยกัน  หัวเว่ยคาดการณ์ว่า ภายในปี พ.ศ. 2573 ยานยนต์แบบไร้คนขับจะมีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของจำนวนรถยนต์ใหม่ที่จะถูกขายได้ในประเทศจีน ส่วนยานยนต์ไฟฟ้าจะมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนรถยนต์ใหม่ที่จะถูกขายได้ ซึ่งยานยนต์เหล่านี้จะติดตั้งพร้อมระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถทำงานได้มากกว่า 5,000 TOPS (TOPS - trillions of operations per second) และมีความเร็วในการส่งสัญญาณเครือข่ายในรถต่อการเชื่อมต่อสูงกว่า 100 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่https://www.huawei.com/en/giv

ใหม่กว่า เก่ากว่า