Huawei คว้ารางวัล “ความร่วมมือ/การทดสอบด้าน 5G ระดับองค์กรที่มีนวัตกรรมล้ำสมัยที่สุด (Most Innovative 5G Enterprise Partnership/Trial)” จากการร่วมสนับสนุนโครงการต้านโรคติดต่ออัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี 5G แห่งเมืองอู่ฮั่น

 


[การประชุมออนไลน์, 25 กันยายน พ.ศ. 2563] ผลงานของหัวเว่ยได้รับการกล่าวถึงจาก “โครงการต้านโรคติดต่อด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ 5G ณ เมืองอู่ฮั่น” ณ การประชุมสุดยอด 5G World ประจำปี พ.ศ. 2563 ซึ่งหัวเว่ยคว้ารางวัล “ความร่วมมือ/การทดสอบด้าน 5G ระดับองค์กรที่มีนวัตกรรมล้ำสมัยที่สุด (Most Innovative 5G Enterprise Partnership/Trial)” โดยรางวัลนี้สะท้อนถึงประโยชน์ของแอปพลิเคชัน 5G อันล้ำสมัยของหัวเว่ยที่ได้นำไปใช้ในภาคสาธารณสุขอัจฉริยะและได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากในภาคอุตสาหกรรม

หลังการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสเมื่อต้นปี พ.ศ. 2563 ได้มีการดำเนินโครงการต้านโรคติดต่อด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ 5G ณ เมืองอู่ฮั่นขึ้นทันที โดยเป็นการร่วมมือระหว่างหัวเว่ย โรงพยาบาลขนาดใหญ่หลายแห่งในอู่ฮั่น สถาบันทางการแพทย์ และหน่วยงานรัฐบาล

 

โครงการนี้ใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์หลักของเทคโนโลยี 5G ประกอบด้วยแบนด์วิธที่สูง ค่าความหน่วงต่ำ ความเรียบง่ายของไซต์โครงข่าย และมีความยืดหยุ่นในการติดตั้ง เพื่อเร่งให้เกิดการประยุกต์ใช้โซลูชันด้านการสาธารณสุขอัจฉริยะ โครงการดังกล่าวมอบการสนับสนุนด้านดิจิทัลที่ทรงศักยภาพให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้สามารถศึกษาผลกระทบและการแพร่ระบาดของไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการนำเทคโนโลยี 5G ไปใช้ด้านการให้บริการสาธารณสุขอัจฉริยะอย่างทันสมัย

 

ด้วยคุณสมบัติของเทคโนโลยี 5G ที่สามารถรับประกันความเสถียรของการให้บริการรวมไปถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ซึ่งจำเป็นสำหรับการใช้ในระบบสาธารณสุขอัจฉริยะ และจัดลำดับให้บริการและอุปกรณ์เหล่านี้ได้รับความสำคัญสูงสุดในระบบ ได้รับแบนด์วิธสูงสุด และมีความหน่วงระดับต่ำที่สุด ทั้งนี้ การติดตั้ง MEC ในระบบเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ในสถานที่ของเจ้าของระบบยังทำให้สามารถส่งและประมวลผลข้อมูลทางการแพทย์ได้อย่างรวดเร็ว และจากเครือข่ายอันทรงพลังของ 5G ทำให้โครงการดังกล่าวยังสามารถส่งมอบการให้บริการด้านข้อมูลให้แก่หน่วยงานราชการ สถาบันทางการแพทย์ และองค์กรธุรกิจอื่นๆ ซึ่งทำให้บริการต่างๆ สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่นในช่วงการแพร่ระบาด

 

กรณีตัวอย่าง ได้แก่ การติดตั้งเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ระดับพื้นฐานที่เสร็จสิ้นอย่างรวดเร็ว ณ โรงพยาบาลชั่วคราวที่เมืองหั่วเสินชาน (Houshenshan) และเหลยเสินชาน (Leishenshan) พร้อมกับแพลตฟอร์มบิ๊กดาต้า (Big Data) ที่ใช้เพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค เครือข่ายและแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดการให้บริการทางการแพทย์ที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงการออกอากาศสดด้วยเทคโนโลยี 5G หรือการใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อการประสานงานหรือสำหรับให้คำปรึกษาทางไกล การตรวจสอบความรัดกุมของอุปกรณ์ป้องกันโรคด้วยตนเอง การให้คำปรึกษาทางการแพทย์ ไปจนถึงรถเข็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ในสถานพยาบาล

 

ทั้งนี้ ยังมีบริการด้านการวินิจฉัยทางไกลด้วยเทคโนโลยี 5G ได้รับการนำไปประยุกต์ใช้อีกเป็นจำนวนมาก เช่น การตรวจวินิจฉัยแบบ CT Scan การตรวจแบบ ultra-B และการตรวจคัดกรองฟิล์มเอกซเรย์ นอกจากนี้ยังการนำมาตรการป้องกันทางไกลด้วยเทคโนโลยี 5G ไปปฏิบัติซึ่งรวมถึงเทคนิคการตรวจลำดับยีน (gene sequencing), การวัดอุณหภูมิด้วยรังสีอินฟราเรด และการฆ่าเชื้อด้วยหุ่นยนต์ นอกจากนี้ ยังมีการจัดงานประชุมอีกเป็นจำนวนมากที่ได้รับการสนับสนุนด้านการประสานงานเพื่อป้องกันและควบคุมโรค

 

โครงการนี้ได้ให้ประโยชน์แก่แพทย์ 1,850 ราย พยาบาล 3,400 ราย และผู้ป่วยกว่า 8,350 ราย โดยได้เพิ่มอัตราสำเร็จของการรักษาและประสิทธิภาพของการสาธารณสุขขึ้นเป็นอย่างมาก ควบคู่กับการลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้แก่บุคลากรทางการแพทย์อีกด้วย ขณะเดียวกัน เครือข่าย 5G ยังเป็นสื่อนำสำคัญที่ช่วยทำให้เกิดการศึกษา การประสานงาน และการประชุมทางไกล ทำให้ภาคการผลิตในประเทศจีนสามารถกลับมาปฏิบัติงานต่อได้หลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสลดลง ซึ่งภาคการผลิตดังกล่าวนี้เองที่ช่วยส่งเสริมการป้องกันและการควบคุมโรคอีกทางหนึ่ง

 

เทคโนโลยี 5G ยังทำให้เกิดการใช้งานวิดีโอผ่าน CLOUD ที่หลากหลาย, การวัดอุณหภูมิด้วยรังสีอินฟราเรดการฆ่าเชื้อโรคโดยใช้หุ่นยนต์ และการให้บริการในสนามบินสถานีขนส่งอาคารสำนักงานและชุมชนที่อยู่อาศัย แอปพลิเคชันเหล่านี้ล้วนสำคัญต่อการลดการแพร่ระบาดของไวรัสด้วยการช่วยประสานงานการป้องกันและการควบคุม, ระบุตัวกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการป่วยในพื้นที่สาธารณะ และฆ่าเชื้อโรคทั้งบริเวณในและนอกอาคาร รวมทั้งนำไปผสานกับโครงสร้างพื้นฐานของภาคสาธารณสุขหลังจากการแพร่ระบาดอีกด้วย


นายเฮา กวงหมิง รองประธานฝ่ายการตลาดและการจำหน่ายโซลูชันในระดับโลกของหัวเว่ย กล่าวว่า “ปัจจุบัน แอปพลิเคชันการให้บริการด้านสาธารณสุขแบบอัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยี 5G ขั้นสูงที่ได้รับการติดตั้งจากโครงการต้านโรคติดต่อด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ 5G ณ เมืองอู่ฮั่น ได้มีการนำไปใช้กับภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลกเช่นกัน เช่น ในประเทศไทยมีการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ 5G เพื่อขนส่งเวชภัณฑ์ ในกัมพูชามีการใช้ระบบการประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย 5G สำหรับทีมแพทย์นานาชาติ รวมถึงในฮ่องกงและสิงคโปร์ที่ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ 5G ในการป้องกันโรคติดต่อ การใช้เทคโนโลยี 5G ในด้านสาธารณสุขอัจฉริยะได้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของตลาดในระดับโลกที่มีมูลค่าหลายแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงพัฒนาระบบการให้บริการด้านสาธารณสุขทางสังคมแบบดิจิทัลด้วยการส่งมอบบริการที่ดีกว่าให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย”

 

งานประชุมสุดยอด 5G World 2020 จัดขึ้นโดยบริษัท อินฟอร์มา เทค (Informa Tech) และมอบรางวัลพิเศษ 14 รางวัลเพื่อเป็นเกียรติให้แก่กลุ่มธุรกิจชั้นนำของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในด้านเทคโนโลยี 5G โดยงานประชุมนี้จัดขึ้นเพื่อร่วมกันส่งเสริมการนำไปใช้และการเติบโตของอุตสาหกรรม 5G ภายในงานดังกล่าวยังจัดแสดงความสำเร็จด้านนวัตกรรมของการเข้าถึงเครือข่าย 5G แบบไร้สาย, โครงข่ายหลัก (core network), ระบบควบคุมอัตโนมัติ (automation), รูปแบบธุรกิจต่างๆความปลอดภัยทางไซเบอร์การพัฒนา และการทดสอบรูปแบบต่างๆ อีกด้วย

ใหม่กว่า เก่ากว่า