Metaverse โอกาสครั้งใหม่ในโลกยุคดิจิทัล

การเปิดตัวของเกมส์ออนไลน์ Roblox เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 สร้างปรากฏการณ์ให้ผู้คนรู้จักคอนเซ็ปต์ของจักรวาลเมตาเวิร์ส ที่มีมูลค่าตลาดสูงเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เปิดโลกจินตนาการให้กับอุตสาหกรรม ‘เมตาเวิร์ส’ แพลตฟอร์มที่สร้างโลกใบใหม่ให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อแบบเสมือนจริงกับครอบครัว เพื่อน สัตว์เลี้ยง ไปจนถึงอุปกรณ์ชิ้นโปรด และเป็นเส้นทางไปสู่เจเนอเรชันใหม่ของโลกโซเชียล

คอนเซ็ปต์จักรวาลในรูปแบบเมตา กลายประเด็นที่อยู่ๆ ก็ได้รับความสนใจไปทั่วโลกในปี พ.ศ. 2564 ทั้งในแง่ของมูลค่าตลาดทุน เทคโนโลยีใหม่ๆ และผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 จากการที่กำไรจากโลกอินเทอร์เน็ตไร้สายกำลังค่อยๆ ลดลงอย่างช้าๆ และการขาดคอนเทนต์ที่แปลกใหม่มาเป็นเวลานาน อีกทั้งวิธีการสื่อสาร วิธีการโต้ตอบ ความสามารถในการโต้ตอบ ธุรกิจต้องการสร้างคอนเทนต์ใหม่ๆ และการปฏิวัติในวิธีการนำเสนอคอนเทนต์อย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการทำกำไร ในขณะที่เทคโนโลยี 5G, AI บล็อกเชน และหน้าจอที่รองรับเทคโนโลยี XR (Extended Reality) ก็เริ่มขยายวงกว้างมากขึ้น และอินเทอร์เน็ตไร้สายก็ครอบคลุมพื้นที่มากกว่าเดิม ธุรกิจอินเทอร์เน็ตรายใหญ่จำนวนมากเริ่มลงทุนเพื่อสร้างอนาคตและหาโอกาสใหม่ๆ ในขณะเดียวกัน ก็มีวิถีชีวิตช่วงโรคระบาดเป็นตัวเร่ง กิจกรรมหลายอย่างที่เคยทำแบบพบหน้าเปลี่ยนไปเป็นการทำผ่านประสบการณ์ออนไลน์ เส้นที่คั่นกลางระหว่างโลกเสมือนจริงและโลกแห่งความเป็นจริงบางลงเรื่อยๆ ผู้คนเริ่มต้องการประสบการณ์ความบันเทิงที่เหนือขั้นกว่าเดิม และการใช้ชีวิตที่มีประสิทธิภาพ ส่วนในแง่ของการนำไปใช้งานเชิงธุรกิจ เทคโนโลยี XR ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมความสามารถในอุตสาหกรรมการผลิตระดับโรงงาน การแพทย์ การค้าปลีก และในอีกหลายหลายบริบทที่เกี่ยวกับการเสริมทักษะผ่านระบบทางไกล การแนะนำการใช้งาน การบริหารระบบ และการศึกษาหาความรู้ และยังคงเข้าถึงการใช้งานรูปแบบใหม่อีกอย่างต่อเนื่อง กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของผู้คนในหลากหลายแง่มุม

ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเมตาเวิร์สผ่านสุนทรพจน์ในหัวข้อเทคโนโลยี 5G ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่จะทำให้เมตาเวิร์สเป็นความจริง เขาเชื่อว่าเมตาเวิร์สได้เติบโตผ่านการพัฒนาของอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต ซึ่งอินเทอร์เน็ตก็ผ่านวิวัฒนาการรอบด้านในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา รวมไปถึงวิธีการเชื่อมต่อ ความเร็ว ประสบการณ์สื่อมัลติมีเดียต่างๆ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึง เมื่อมาถึงจุดนี้ เท่ากับว่าเราได้เข้าสู่โลกยุคใหม่แห่งเทคโนโลยี VR/AR และเมตาเวิร์ส ที่ไม่เพียงแต่โทรศัพท์มือถือเท่านั้นที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ แต่จะยังมีอีกหลายหลายอุปกรณ์ที่จะช่วยให้เราในการเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัล ให้โลกกายภาพ และโลกดิจิทัลเข้ามาใกล้กันมากขึ้น

กรณีการนำเมตาเวิร์สไปใช้ในช่วงแรก มักจะเป็นในแง่ของความบันเทิง ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า เมตาเวิร์สในขั้นที่สอง จะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอื่นมากขึ้น รวมทั้งธุรกิจค้าปลีก การศึกษา การแพทย์ พร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ที่จะเกิดขึ้นมา รวมทั้ง เทคโนโลยี 5G คลาวด์ AI และเทคโนโลยีอื่นๆ หลังจากปี 2573 เป็นต้นไป เทคโนโลยีเหล่านี้จะพัฒนาไปจนถึงขั้นสูง และจักรวาลดิจิทัลแบบโฮโลกราฟิกจะพร้อมสำหรับการใช้งานในหลากหลายรูปแบบ

ที่งานประชุม Huawei Analyst Summi ประจำปี พ.ศ. 2565 นายเคน หู ประธานกรรมการบริหารหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวถึงเมตาเวิร์สเอาไว้ว่าเมตาเวิร์สเป็นเรื่องที่ปัจจุบันนี้ไม่มีใครไม่พูดถึง แต่ก็ยังเป็นคอนเซ็ปต์ที่กว้าง เมตาเวิร์สเชื่อมโยงกับอีกหลากหลายเรื่อง ประเด็นแรก เขาคิดว่าเมตาเวิร์สคือการบรรจบเข้าด้วยกันของโลกกายภาพและโลกดิจิทัล ในการจะมาบรรจบกัน โลกกายภาพจะต้องได้รับการเปลี่ยนผ่านเป็นดิจิทัล ในขณะเดียวกัน โลกดิจิทัลก็ต้องเข้ามามีตัวตนในโลกกายภาพ การมาบรรจบกันของโลกทั้งสองนี้มีนัยสำคัญ ยกตัวอย่างเช่นการทำให้โลกกายภาพกลายเป็นดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีอย่างโมเดลสามมิติ การจำลองสถานการณ์ แบบจำลองดิจิทัล และการผสมผสานระหว่างโลกเสมือนจริงและโลกกายภาพ เราจะนำวิธีแก้ปัญหาในโลกดิจิทัลมาใช้ในโลกกายภาพได้

ประเด็นที่สอง นายเคน หู มองว่ามูลค่าของเมตาเวิร์สจะไม่ถูกจำกัดอยู่แค่การใช้งานแบบการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าหรือผู้บริโภค (B2C) และยังอาจจะเพิ่มมูลค่าในการทำธุรกิจระหว่างคู่ค้าธุรกิจ(B2B) ปัจจุบัน เมื่อพูดถึงเมตาเวิร์ส ผู้คนมักพูดถึงการใช้งานโดยผู้บริโภค เช่น การเล่นเกมส์ หรือการศึกษา เขาเชื่อว่าคุณค่าที่เมตาเวิร์สจะนำมาสู่ B2B น่าจับตามองมากกว่า เขายังบอกว่าช่วงนี้ยังเร็วเกินไปที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเต็มรูปแบบเพื่อการใช้งานในลักษณะนี้ แต่สำหรับบริษัทเทคโนโลยีแบบหัวเว่ย สิ่งสำคัญคือการต้องรอจังหวะและเฝ้ารอดูการพัฒนาในอนาคตอย่างใกล้ชิด และเตรียมตัวให้พร้อมในทุกย่างก้าว

ก้าวแรก คือเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ในเมตาเวิร์ส โลกกายภาพและโลกดิจิทัลจะบรรจบกันอย่างสมบูรณ์ ซึ่งหมายความว่าการโต้ตอบแบบเรียลไทม์ จะส่งผลให้เกิดความหน่วง และแบนด์วิธทั้งอัพลิงค์และดาวน์ลิงค์จะต้องทำงานหนักขึ้นอีกหลายเท่า นอกจากนี้ยังต้องอาศัยพลังในการประมวลผลที่มากและหลากหลายขึ้น เพื่อที่จะรองรับการเรนเดอร์ภาพจำนวนมหาศาลที่จะเกิดขึ้น ซึ่งวิสัยทัศน์ 5.5G ของหัวเว่ย และความทุ่มเทในการออกแบบสถาปัตยกรรมในการประมวลผล ล้วนแต่เป็นการเตรียมตัวเข้าสู่ยุคเมตาเวิร์สที่กำลังจะมาถึงทั้งสิ้น

ก้าวที่สอง คือเรื่องของอุปกรณ์ ทีมวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ยและการลงทุนในเรื่องของอุปกรณ์มุ่งเน้นไปที่สมาร์ทโฟน แว่นตา อุปกรณ์สวมใส่ รวมถึง อุปกรณ์ระบบสัมผัส หัวเว่ยยังได้พัฒนาอุปกรณ์ที่รองรับเทคโนโลยี XR รวมไปถึงโซลูชันระบบเสียงสามมิติ และยังสร้าง HetuEngine โซลูชัน AR สำหรับการใช้งานกับฉากเมือง

ในส่วนของขั้นตอนการใช้งานและการสร้างสรรค์ หัวเว่ยเน้นไปที่การวางแผนโดยอิงจากเทคโนโลยีหัวเว่ยคลาวด์ หัวเว่ยคลาวด์ ได้พัฒนาแพลตฟอร์มคอนเทนต์ดิจิทัล MetaStudio และแพลตฟอร์มนี้จะมีส่วนช่วยในการผลักดันการพัฒนาเมตาเวิร์ส ให้ผู้ใช้งานสามารถผลิตคอนเทนต์สร้างสรรค์ให้กับโลกดิจิทัล

หัวเว่ยได้ทำการพัฒนาเทคโนโลยีอัลตราบรอดแบนด์ อย่าง 5G หรือแพลตฟอร์มสุดอัจฉริยะ เช่น การประมวลผลในคลาวด์ที่มีทั้งเทคโนโลยี AI, IOT บล็อกเชน และเมตาเวิร์ส หัวเว่ยจับตาดูเทคโนโลยีเหล่านี้สร้างบทบาทสำคัญขับเคลื่อนประสบการณ์การใช้งานและสร้างผลทางธุรกิจ ที่จะผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศเศรษฐกิจดิจิทัลได้ในที่สุด

ในฐานะหนึ่งในกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล หัวเว่ยจะเตรียมพัฒนาเทคโนโลยีที่จำเป็น และพร้อมร่วมงานกันพันธมิตรตลอดห่วงโซ่มูลค่าแบบครบวงจร เพื่อหาช่องทางการใช้งานที่เหมาะสมทั้งรูปแบบ B2B และ B2C เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการนำเมตาเวิร์สสู่โลกความจริง
ใหม่กว่า เก่ากว่า