Bizcuit ประมวลผลควันหลงกระแสโซเชียลเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ปลื้ม AI ยกศักยภาพด้านภาษาวิเคราะห์ระดับเจตนาแม่นยำถึง 72 %

บิสกิต โซลูชั่น หรือ BIZCUIT หนึ่งในผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยี AI โซลูชั่น เผยข้อมูลจากโซเชียลมีเดียช่วงโค้งสุดท้ายก่อนและหลังเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เสริมสมรรถนะของ AI ด้านวิเคราะห์ภาษาในบริบทของการเลือกตั้งให้สมบูรณ์มากขึ้น ครอบคลุมทั้งช่วงก่อนและหลังเลือกตั้งด้วยปริมาณข้อมูลระดับเมก้ามากกว่า 7 ล้านคำ พบหลังปิดหีบเลือกตั้ง เกิดปรากฏการณ์ข้อมูลการแสดงความคิดเห็นในโซเชียลมีเดียถล่มทลายมากกว่าก่อนเลือกตั้งเกือบเท่าตัว ต่อยอดสร้างความแม่นยำในการวิเคราะห์เจตนาการแสดงความคิดนั้นให้กับ AI โดยความแม่นยำยังอยู่ในระดับ 72 % แม้ถูกนำมาใช้กับข้อมูลชุดใหม่หลังเลือกตั้ง พร้อมส่ง AI ถอดรหัสการเลือกตั้งระดับประเทศ


นายสุทธิพันธุ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิสกิต โซลูชั่น จำกัด หรือ BIZCUIT เปิดเผยว่า จากความสำเร็จในการศึกษาข้อมูลบนสื่อโซเชียลมีเดียหลากหลายแพลตฟอร์มช่วงก่อนการเลือกตั้งในระหว่างวันที่ 21 มี.ค. – 7 พ.ค. 65 ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของเทคโนโลยี AI Machine Learning ด้านความเข้าใจภาษาแบบธรรมชาติ (NLU) ของ BIZCUIT ให้มีความเข้าใจลึกลงไปถึงบริบทหรือ domain ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเมืองมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงต่อยอดขยายผลเพิ่มระยะเวลาการเพิ่มความสามารถของ AI ไปจนถึงวันที่ 26 พ.ค. 65 ที่ผ่านมา ด้วยการดึงข้อมูลจาก Facebook Twitter และ YouTube ซึ่งมีเงื่อนไขแตกต่างกันตามแต่โครงสร้างข้อมูลในแต่ละแพลตฟอร์ม ทั้งข้อมูลที่เป็นการ post หรือ tweet หรือ VDO content นำมาวิเคราะห์ จำนวน 105,816 คอนเทนต์ และมีจำนวน comment หรือ reply tweet รวม 595,942 comment บนข้อมูลสาธารณะ 100% ที่ยินยอมในการเปิดเผย และยังมีระบบอัตโนมัติในการลบข้อมูลระบุตัวตนทั้งหมดก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนเริ่มงาน ทำให้ผู้ที่ทำหน้าที่ Train Data นั้นไม่ทราบที่มาของข้อมูล ซึ่งการ Training data ให้กับ AI ครั้งนี้ ครอบคลุมทั้งช่วงก่อนและหลังเลือกตั้ง ด้วยปริมาณข้อมูลระดับเมก้าที่มีจำนวนมากกว่า 7 ล้านคำ พบว่าเกิดปรากฏการณ์ข้อมูลการแสดงความคิดเห็นในโซเชียลมีเดียแบบถล่มทลายมากกว่าก่อนเลือกตั้งเกือบเท่าตัว นับเป็นการต่อยอดสร้างความแม่นยำในการวิเคราะห์เจตนาการแสดงความคิดนั้นให้กับ AI มีความแม่นยำอยู่ในระดับ 72 % ส่งผลให้ AI ของ BIZCUIT มีความพร้อมที่จะลงไปวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งระดับประเทศในอนาคตได้

ทั้งนี้ ข้อมูลที่น่าสนใจจากการใช้ AI วิเคราะห์พบว่าปริมาณข้อมูลการแสดงความคิดเห็นช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง แม้จะมีระยะเวลาจำนวนวันที่น้อยกว่า แต่มีปริมาณข้อมูลในโลกออนไลน์มีจำนวนมากใกล้เคียงกับช่วงก่อนเลือกตั้ง สะท้อนให้เห็นความตื่นตัวของประชาชนที่ลุ้นผลการนับคะแนนอย่างชัดเจน โดยจัดกลุ่มผลการศึกษาวิเคราะห์ออกมา แบบแบ่งช่วงระยะเวลาและแพลตฟอร์ม ดังนี้

หลังวันเลือกตั้ง (23-26 พฤษภาคม 2565)

BIZCUIT วิเคราะห์ Comment บน Facebook และ reply tweet บน Twitter จำนวน 111,525 ข้อความ พบว่าเสียงส่วนใหญ่พูดถึงนายชัชชาติ โดยหัวข้อที่ถูกพูดถึง (Topic) มากเป็นอันดับหนึ่งคือพูดถึงตัวบุคคล และอันดับสองคือพรรคการเมือง โดยความรู้สึกที่ถูกพูดถึงนั้นมีสัดส่วนเป็นบวกมากที่สุด และยังคงได้รับเจตนาในสนับสนุนในสัดส่วนที่มากที่สุด ถัดมาคือนายวิโรจน์ ที่แม้ผลการเลือกตั้งจะเป็นอันดับสาม แต่การถูกพูดถึงนั้นมากกว่านายสุชัชวีร์ที่ได้คะแนนเลือกตั้งเป็นอันดับที่สอง รวมทั้งความรู้สึกเป็นบวกที่ผู้แสดงความคิดเห็นพูดถึงถึงนายวิโรจน์นั้นมีสัดส่วนที่มากกว่า นอกจากนี้ยังพบว่าผลวิเคราะห์จาก Twitter หลังการเลือกตั้งจำนวน 47,309 tweet และ reply tweet สอดคล้องกัน คือการถูกพูดถึงจะเกิดขึ้นที่ตัวนายชัชชาติเป็นหลัก ถัดมาคือนายวิโรจน์ โดยถูกพูดถึงในนัยยะที่เป็นบวกมากทั้งคู่

“การศึกษาข้อมูลของ BIZCUIT ในครั้งนี้ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ในโลกออนไลน์ที่เกิดขึ้น ซึ่งนับว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้ได้สร้างปริมาณข้อมูลตัวอักษรภาษาไทยที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ BIZCUIT ได้เตรียมความพร้อมที่จะใช้ AI ในการวิเคราะห์บริบทการเลือกตั้งผ่านข้อมูลโซเชียลมีเดียเมื่อมีการเลือกตั้งอื่น ๆ ในอนาคต โดยความสามารถด้านการวิเคราะห์ภาษาไทยด้วย AI NLU หรือ การเข้าใจภาษาธรรมชาติของ BIZCUIT นับว่ามีการพัฒนาก้าวไปอีกขั้น โดยการให้บริการวิเคราะห์ภาษาไทยนั้นสามารถใช้บริการได้ผ่าน Solution ต่าง ๆ หรือการเรียกใช้บริการวิเคราะห์ภาษาไทยด้วย API โดยตรง ภายใต้บริการ Text PowerT ปัจจุบัน BIZCUIT มี AI ด้านการวิเคราะห์ภาษาธรรมชาติมากถึง16 หมวดและการเลือกตั้งนั้นถือเป็นหมวดที่ 17 โดยทาง BIZCUIT มี AI ด้านการวิเคราะห์ภาษาธรรมชาติรองรับอยู่ 4 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาบาฮาซา อินโดนีเซีย (Bahasa) และภาษาฟิลิปปินส์ (Tagalog) ซึ่งส่วนใหญ่เป็น AI ที่ใช้งานเกี่ยวกับด้านการบริการลูกค้าและการตลาด โดยวัตถุประสงค์สำคัญที่ทาง BIZCUIT มุ่งที่จะสร้าง AI ด้านการวิเคราะห์ภาษาธรรมชาติให้มีความเข้าใจในหลายหมวดให้ได้มากที่สุด เพื่อที่จะปลดล็อคความสามารถของ digital transformation ในประเทศไทย ที่ปัจจุบันยังมีข้อจำกัดทางภาษาให้หมดไปอย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อความสามารถในการแข่งขันทั้งในภูมิภาคและระดับโลก”  นายสุทธิพันธุ์ กล่าวสรุป

วันเลือกตั้ง (22 พฤษภาคม 2565)

BIZCUIT เลือกวิเคราะห์เฉพาะส่วน Comment  หรือ reply tweet ในวันเลือกตั้งเพื่อดูแนวโน้มการแสดงความคิดเห็นโดยรวมทั้งจากแพลตฟอร์ม Facebook และ Twitter จำนวน 52,178 Comment / reply tweet โดยพบว่านายชัชชาติ นั้นถูกพูดถึงมาเป็นอันดับหนึ่ง รวมทั้งเจตนา (Intention) ในการพูดถึงก็มีสัดส่วนของการสนับสนุนมากกว่าผู้สมัครท่านอื่น ๆ โดยนายสุชัชวีร์ และนายวิโรจน์ตามมาในอันดับถัดไป ซึ่งทั้งคู่มีคะแนนใกล้เคียงกันมาก ส่วนอันดับที่สี่คือนายสกลธี และอันดับที่ห้าคือนายอัศวิน ซึ่งถือว่ามีทิศทางสอดคล้องกับผลการเลือกตั้ง แต่เมื่อพิจารณาผลเฉพาะจากแพลตฟอร์ม Twitter จำนวน 5,360 reply tweet จะเห็นได้ว่าจำนวนและสัดส่วนของนายวิโรจน์และนายศิธานั้นสูงกว่านายสุชัชวีร์ นายอัศวิน และนายสกลธีอย่างมีนัยยะ ทำให้พอจะเห็นแนวโน้มว่าผู้แสดงความคิดเห็นบน Twitter ผ่าน reply tweet เกี่ยวกับผู้สมัครในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 นั้นอาจจะไม่ได้มีการกระจายตัวตามโครงสร้างประชากรของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI โซลูชั่น ด้วย Machine Learning โดยเฉพาะด้าน Natural Language Processing (NLP) ติดต่อ https://www.bizcuitsolution.com/th/talk-to-us/ หรือ โทร. 02-664-1675-7
ใหม่กว่า เก่ากว่า