HUAWEI Cloud Campus 3.0 กำหนดนิยามใหม่ของเครือข่ายแคมปัส ด้วยการใช้งานและการเข้าถึงคลาวด์แบบซูเปอร์ฟาสต์


ในมหกรรมโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ประจำปี 2565 (Mobile World Congress 2022) บริษัทหัวเว่ย (Huawei) ได้เปิดตัวโซลูชันคลาวด์แคมปัส 3.0 (CloudCampus 3.0) เวอร์ชันอัปเกรดใหม่ ในระหว่างการจัดกิจกรรมไอพี คลับ คาร์นิวัล (IP Club Carnival) นับเป็นก้าวสำคัญในการกำหนดนิยามใหม่ของเครือข่ายแคมปัส โดยคลาวด์แคมปัส 3.0 กำหนดนิยามใหม่ของการเข้าถึงเครือข่ายแคมปัส ด้วยการมอบประสบการณ์การเชื่อมต่อระดับ 300 เมกะบิตต่อวินาทีทุกที่ หรือ "300 Mbps @ Everywhere" รวมถึงออกแบบใหม่ด้วยการเปลี่ยนสถาปัตยกรรมเครือข่ายแคมปัสจากเลเยอร์สามชั้นเหลือสองชั้น ตลอดจนคิดใหม่ในเรื่องของการเข้าถึงระบบคลาวด์สำหรับสาขาต่าง ๆ ขององค์กร ผ่านสายวงจรเช่าระหว่างไซต์กับคลาวด์ จนเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงคลาวด์ได้เป็นสองเท่า

เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น คลาวด์, อินเทอร์เน็ตออฟติงส์ (IOT) และบิ๊กดาต้า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลขององค์กรจึงขยายจากสถานที่ทำงานไปยังส่วนของการผลิตและการดำเนินงาน รวมถึงจากสำนักงานใหญ่ไปยังสาขาต่าง ๆ และระบบคลาวด์ ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดความคาดหวังว่าแคมปัสขององค์กรจะเอื้ออำนวยให้เกิดสภาพแวดล้อมในส่วนของการผลิตและสำนักงานอัจฉริยะที่ทำงานร่วมกันได้ดี เพื่อยกระดับความคิดสร้างสรรค์ของทีมงานและการทำงานร่วมกันที่คล่องตัวยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น แคมปัสขององค์กรจำเป็นต้องช่วยให้เข้าถึงบริการบนคลาวด์ได้เร็วขึ้น เพื่อปูทางไปสู่บริการร่วมกันทั่วโลก ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

เครือข่ายแคมปัสซึ่งเชื่อมต่อเทอร์มินอลที่ปลายทางด้านหนึ่งเข้ากับระบบคลาวด์ที่ปลายทางอีกด้านหนึ่งนั้น เป็นรากฐานสำคัญสำหรับการสร้างแคมปัสดิจิทัล โดยในสถาปัตยกรรมเครือข่ายแคมปัสแบบดั้งเดิมนั้น เครือข่ายแคมปัสจะเชื่อมต่อเฉพาะแอปพลิเคชันสำนักงานภายในองค์กรเข้ากับเทอร์มินอลสำนักงานแบบมีสาย ขณะที่เครือข่ายไร้สายจะเป็นเพียงส่วนเสริมของเครือข่ายแบบมีสายเท่านั้น ส่งผลให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์แบบขาดตอน ขาดการเชื่อมต่อบ่อยครั้ง ตลอดจนเฟรมค้าง ที่แย่ไปกว่านั้นคือ สายวงจรเช่าแบบเดิมทำให้สาขาต่าง ๆ ขององค์กรไม่สามารถเข้าถึงระบบคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณสตีเวน จ้าว รองประธานสายผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย กล่าวว่า "เครือข่ายแคมปัสมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในด้านหนึ่ง เทอร์มินอลประเภทต่าง ๆ เชื่อมต่อผ่าน LAN เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลในทุกสถานการณ์ ในอีกด้านหนึ่ง SD-WAN ก็จำเป็นต่อการเข้าถึงระบบคลาวด์ ดังนั้น องค์กรต่าง ๆ จึงต้องรีบมีเครือข่ายแคมปัสที่ช่วยให้สามารถเข้าถึงระบบคลาวด์ได้แบบซูเปอร์ฟาสต์และมอบประสบการณ์ผู้ใช้แบบซูเปอร์ฟาสต์"

คลาวด์แคมปัส 3.0 ใหม่ล่าสุดของหัวเว่ยตอบโจทย์เรื่องนี้ได้เต็มรูปแบบด้วยการอัปเกรดอย่างต่อเนื่อง ทำให้โซลูชันนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการสร้างเครือข่ายแคมปัสที่เน้นประสบการณ์การใช้งาน

และเช่นเคย หัวเว่ยได้สร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องในด้านสวิตช์และ WLAN เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้จะได้รับประสบการณ์แบบซูเปอร์ฟาสต์ในแคมปัสสำนักงานขององค์กรเพื่ออธิบายให้ละเอียดยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์หัวเว่ย แอร์เอนจิน วาย-ฟาย 6 (Huawei AirEngine Wi-Fi 6) ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเสาอากาศอัจฉริยะและโรมมิ่ง AI เพื่อให้ได้เครือข่ายไร้สายที่ต่อเนื่องกันอย่างสมบูรณ์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้เครือข่ายได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ที่มีฟีเจอร์มากมายดังกล่าวยังใช้อัลกอริทึมตั้งเวลามัลติมีเดียอัจฉริยะเพื่อการันตีคุณภาพของการประชุมทางไกลผ่านภาพและเสียงระดับพรีเมียม ส่วนไฮไลต์อื่น ๆ ประกอบด้วย หัวเว่ย แอร์เอนจิน 6761-21 เอพี (Huawei AirEngine 6761-21 AP) ที่มีเสาอากาศอัจฉริยะแบบไดนามิกซูมครั้งแรกในอุตสาหกรรม และหัวเว่ย แอร์เอนจิน 6761-22ที เอพี (Huawei AirEngine 6761-22T AP) ที่รองรับ Wi-Fi 6E

ในส่วนของสวิตช์ หัวเว่ยได้คิดค้นเทคโนโลยี PoE แบบออปติคอล-ไฟฟ้า ที่ช่วยให้สามารถจ่ายไฟ PoE ได้ในระยะไกลเป็นพิเศษ เทคโนโลยีนี้ทำให้ AP ไม่ได้รับผลกระทบแม้จะเกิดไฟดับโดยไม่คาดคิดในเครือข่ายแคมปัสก็ตาม ทำให้พนักงานในองค์กรเข้าถึงระบบไร้สายได้ตลอดเวลา

หัวเว่ย คลาวด์เอนจิน เอส8700 (Huawei CloudEngine S8700) เป็นสวิตช์แบบโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่โดดเด่นด้วยนวัตกรรมสถาปัตยกรรมแบบเรียบง่าย โดยสวิตช์ที่พร้อมรองรับการใช้งานในอนาคตตัวนี้สามารถทำงานร่วมกับหน่วยรีโมต (RU) เพื่อสร้าง "หนึ่งอุปกรณ์ หนึ่งเครือข่าย" (One Device, One Network) ซึ่งกำหนดนิยามใหม่ของสถาปัตยกรรมเครือข่ายแคมปัส จึงทำให้การวางแผน ใช้งาน และจัดการเครือข่ายแคมปัสง่ายกว่าเดิมมาก

ในขณะที่บริการต่าง ๆ ย้ายไปอยู่บนคลาวด์มากขึ้นเรื่อย ๆ SD-WAN ของหัวเว่ยก็เจาะลึกเข้าสู่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้เข้าถึงระบบคลาวด์ได้แบบซูเปอร์ฟาสต์ เช่น ในภาคการค้าปลีก SD-WAN ของหัวเว่ยก็รองรับการจัดเตรียมแบบซีโร่ทัช (Zero-Touch Provisioning หรือ ZTP เป็นวิธีการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่กำหนดค่าอุปกรณ์โดยอัตโนมัติโดยใช้ฟีเจอร์สวิตช์) สำหรับการปรับใช้อัตโนมัติและการจัดเตรียมลิงก์บนระบบคลาวด์ ซึ่งช่วยให้ลูกค้ารายย่อยลดระยะเวลาจัดเตรียมเครือข่ายร้านค้าจากหลายสัปดาห์เหลือเพียง 1 วัน ส่วนในภาคการเงินนั้น SD-WAN ของหัวเว่ยช่วยให้สามารถควบคุมทราฟฟิกได้แบบอัจฉริยะ พร้อมนำเสนอลิงก์แบบอัลตราบรอดแบนด์สำหรับการเข้าถึงระบบคลาวด์ ช่วยให้มั่นใจได้ว่าบริการธุรกรรมหลักจะมีความเสถียรและเชื่อถือได้ ดังนั้น เราเตอร์ SD-WAN ใหม่ล่าสุดอย่างเน็ตเอนจิน เออาร์6710 (NetEngine AR6710) ของหัวเว่ย ซึ่งรวมการเราติ้งและสวิตชิ่งเข้าไว้ด้วยกันนั้น จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับการเข้าถึงระบบคลาวด์แบบซูเปอร์ฟาสต์สำหรับสาขาขององค์กร

ใหม่กว่า เก่ากว่า