IT กับธุรกิจในยุคการตลาด 5.0

 


เคยมีคำกล่าวว่า “แนวทางการตลาดที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปนานกว่าหกเดือน จะไม่มีวันย้อนกลับมาทำเหมือนเดิมได้อีกแล้ว” เทียบเคียงได้กับองค์กรที่เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลภายใต้สภาพแวดล้อมด้านไอทีใหม่ ๆ  เช่น คลาวด์ เวอร์ช่วลแมชชีน บิ๊กดาต้า แมชชีนเลิร์นนิ่ง เอไอ ไอโอที เป็นต้น ซึ่งได้เปลี่ยนแนวทางดำเนินธุรกิจไปตลอดกาล

 

การตลาด 5.0 ในวันที่ทุกอย่างเปลี่ยนไป

ว่ากันว่า การตลาด 5.0 คือ ยุคของเทคโนโลยีเพื่อมวลมนุษยชาติ ซึ่งเห็นจริงแล้วจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลบิ๊ก ดาต้า ซึ่งถูกใช้เพื่อสนับสนุนระบบสาธารณสุข การพัฒนาแพลตฟอร์มธุรกิจและการตลาดใหม่ ๆ ผ่านออนไลน์ เพื่อรับใช้วิถีชีวิตแบบ Work from Home อย่างจริงจัง

การตลาด 5.0 จึงเป็นยุคที่องค์กรธุรกิจต้องเข้าถึงลูกค้าด้วยแพลตฟอร์มใหม่ ๆ แม้ในยามที่เราไม่สามารถเจอลูกค้าแบบตัวต่อตัว โดยมี ข้อมูล เป็นวัตถุดิบสำคัญในการขับเคลื่อนการตลาด (Data-Driven) ผ่านการประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัลอื่น ๆ เช่น เอไอหรือแมชชีนเลิร์นนิ่ง เพื่อสร้างการตลาดแบบคาดการณ์ (Predictive Marketing) ที่พร้อมวิเคราะห์แนวโน้มความสำเร็จทางธุรกิจที่เป็นไปได้ หรือสร้างแคมเปญทางการตลาดที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละราย (Contextual Marketing) ไอโอทีในการสร้างช่องทางการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เออาร์หรือวีอาร์ในการสร้างแพลตฟอร์มการตลาดเสมือนจริง (Mixed Reality Marketing) เพื่อกระตุ้นการซื้อได้ในแบบออนไลน์และออฟไลน์ เป็นต้น

ณะเดียวกัน ลูกค้ายุคการตลาด 5.0 ต่างอัพเกรดสู่การเป็นโปรซูเมอร์ (Prosumer) หรือ บอสซูเมอร์ (Bossumer) ที่รู้จริงมากขึ้น คิดก่อนซื้อมากขึ้น ต้องการสินค้าบริการที่เฉพาะตัวมากขึ้น ซึ่งไอทีจะมีส่วนช่วยให้องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจไปสู่รูปแบบ As-a-Service ซึ่งตอบสนองได้มากกว่าการส่งมอบสินค้าและบริการ แต่คือ การทำธุรกิจที่มุ่งสร้าง ประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เป็นสำคัญ

 

ไอทีที่ธุรกิจ 5.0 ต้องการ

การ์ทเนอร์กล่าวว่า สิ่งที่ผู้บริหารธุรกิจคาดหวังจากเทคโนโลยีในปี 2565 และจากนี้ไปอย่างน้อย 3-5 ปี คือ การขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ โดยต้องตอบโจทย์ใน สาระสำคัญ คือ

  1. ให้ความน่าเชื่อถือในทางวิศวกรรม หมายถึง ข้อมูลถูกรวบรวมและประมวลผลอย่างถูกต้องปลอดภัย และยืดหยุ่นในการทำงานข้ามไปมาทั้งบนสภาพแวดล้อมแบบคลาวด์หรือไม่ใช่คลาวด์
  2. หล่อรวมทุกการเปลี่ยนแปลง คือ เทคโนโลยีที่พร้อมต่อการปรับ-ขยาย หรือเร่งการพัฒนาสู่องค์กรดิจิทัลในทุกรูปแบบ อาทิ ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างแอปพลิเคชันได้รวดเร็ว เกิดการทำงานที่เป็นอัตโนมัติ หรือ สนับสนุนการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจที่รวดเร็วและชาญฉลาด
  3. เสริมแกร่งการเติบโตทางธุรกิจจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างแผนจัดการเชิงกลยุทธ์ที่สามารถเอาชนะคู่แข่งทางธุรกิจและเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด

 

สมรภูมิแรนซัมแวร์ยังเดือด

ารเกิดขึ้นของ Ransomware As a Service ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นในยุคการตลาด 5.0 แต่เกิดขึ้นจริงแล้วสำหรับบริการมัลแวร์ในการโจมตีข้อมูลและระบบไอที ซ้ำการจ่ายค่าไถ่ผ่านบิตคอยน์ที่ไม่สามารถระบุตัวตนทำให้ติดตามจับกุมได้ยาก ปัจจุบัน เกิดกรณีการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ถี่ขึ้นเกือบทุกสองหรือสามเดือน ทั้งยังพบว่า ในปี 2564 องค์กรธุรกิจต้องใช้เวลานานกว่า 287 วัน ในการระบุหรือตรวจพบการละเมิดข้อมูล แม้ว่าการโจมตีของแรนซัมแวร์ยังวนเวียนอยู่ใน 3 วิธีการ คือ หนึ่ง ขโมยข้อมูลออกไปโดยไม่รู้ตัวแล้วนำกลับมาต่อรอง สอง ไม่ได้ขโมยแต่ก็อปปี้ข้อมูลออกไปใช้ และ สาม ใส่รหัสข้อมูลทำให้เจ้าของข้อมูลใช้งานไม่ได้ นอกจากเสียค่าไถ่เพื่อแลกกับกุญแจถอดรหัส แต่ปัญหาตัวโตๆ ณ ขณะนี้ คือ องค์กรที่มีระบบสำรองและกู้คืนข้อมูลก็อย่าได้วางใจ เพราะ แรนซัมแวร์สามารถโจมตีลึกถึงระบบสำรองและกู้คืนข้อมูลได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเซิร์ฟเวอร์หลัก ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ หรือแม้กระทั่งในเทปแบ็คอัพก็ตาม

บริษัทไอทีอย่าง HPE แนะเทคนิคการสร้างความปลอดภัยไอทีที่สมบูรณ์ว่า ควรประกอบด้วยขั้นตอนป้องกัน (Prevent) และตรวจจับตอบโต้ (Detect & Response) และจำเป็นต้องใช้ เอไอ ช่วยตรวจจับ ป้องกัน และสร้างระบบอัตโนมัติให้เข้าควบคุมแก้ไขในทันที เพื่อขจัดห่วงโซ่ภัยคุกคามไซเบอร์ที่แฝงมากับการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันต่าง ๆ  ช่องโหว่จากการเปิดใช้งานไฟล์ที่อาจเป็นอันตราย อีเมลฟิชชิ่ง หรือการส่งมัลแวร์เข้ามาฝังตัวโดยตรง เป็นต้น รวมถึงควรเชื่อมโยงเทคโนโลยีความปลอดภัยแต่ละจุดในองค์กรให้สามารถประสานการทำงานร่วมกันในทุกสภาพแวดล้อมทั้งคลาวด์และไม่ใช่คลาวด์ ซึ่งจะทำให้ภาพรวมการปกป้องข้อมูลขององค์กรยุคดิจิทัลมีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง 

ตัวอย่างของ Cohesity Span FS คือ หนึ่งในแพลตฟอร์มจาก HPE ที่พร้อมดูแลระบบสำรองและข้อมูลซึ่งถือเป็นปราการป้องกันข้อมูลสุดท้ายจากแรนซัมแวร์ ด้วยระบบ Data Lock ที่ช่วยปกป้องไฟล์แบ็คอัพทันทีที่พบสิ่งน่าสงสัยหรือมุ่งร้าย เทคโนโลยี Air-Gap ให้องค์กรสามารถกำหนดวิธีจัดการข้อมูลสำคัญอย่างเหมาะสม และเทคนิคการเข้ารหัสข้อมูลหลายชั้น (Multi-Factor Authentication-MFA) ด้วยการสร้างรหัสผ่านแบบใช้แล้วทิ้ง หรือ OTP อีกชุดหนึ่ง นอกเหนือรหัสผ่านที่ใช้ประจำซึ่งถูกขโมยได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ ยังมี Cohesity Helios ระบบตรวจจับผู้บุกรุกผ่านการจัดการข้อมูลแบบ Data Management as a Service พร้อมด้วยแมชชีนเลิร์นนิ่ง เพื่อเสริมการตรวจจับและจัดการทั้งข้อมูลและแอปพลิเคชันในเชิงลึกได้แม่นยำและเข้าใจง่ายผ่านการแสดงผลแบบแดชบอร์ด รวมถึงสามารถกู้คืนข้อมูลหรือแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เพื่อให้องค์กรสามารถเดินหน้าธุรกิจสู่ยุคการตลาด 5.0 ได้อย่างปลอดภัย



โดย นายนครินทร์ เทียนประทีป ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ยิบอินซอย จำกัด

ใหม่กว่า เก่ากว่า