ส่องวิธีการทำงานของ Muze เบื้องหลังความสำเร็จของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ

แนวการทำงานแบบ Agile ที่ใช้ได้จริง สร้างเป็นผลงานโซลูชั่นเว็บไซต์และแอปพลิเคชันให้แบรนด์ขนาดใหญ่มากมาย

ท่ามกลางการเติบโตของบริษัทด้านเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายในตลาด อีกทั้งการปรับตัวเข้าสู่ยุค New Normal หลากหลายบริษัทต้องหาวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์การทำงานให้ได้มากที่สุด Muze เลือกใช้ระบบการทำงานแบบ Agile ซึ่งเป็นหลักการทำงานสำคัญและหัวใจของการทำงานที่ Muze เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ลูกค้า และพร้อมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในโลกธุรกิจที่ต้องแข่งขันกับเวลา 

การทำงานของ Muze ในแต่ละโปรเจกต์ ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสมบูรณ์ ประกอบไปด้วยการทำงานร่วมกันของแต่ละกันฝ่าย ภายใต้แนวคิดในการทำงานแบบ Agile ในรูปแบบ Scrum ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากความเข้าใจเรื่องความต้องการของลูกค้าที่อาจมีความไม่แน่นอน และไม่ชัดเจนในระยะแรก ซึ่งอาจทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนความต้องการของลูกค้าภายหลังได้ ดังนั้น การทำงานในรูปแบบ Agile มีจุดประสงค์เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการแก้ปัญหา ลดขั้นตอนการทำงาน และทำงานได้อย่างยืดหยุ่นพร้อมต่อการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และที่สำคัญยังสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ ซึ่งมีการปรับใช้อย่างครอบคลุมทั้งระบบการทำงาน เพื่อให้ทั้งพาร์ทเนอร์ ลูกค้า รวมถึงทีมงานของ Muze เอง สามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ วางแผน ลงมือทำไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น แนวคิดสำคัญคือ การรับมือกับความเปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีมระหว่างทีมของ Muze และลูกค้า ที่ทำงานร่วมกันเสมือนเป็นทีมเดียวกัน ใช้การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นหลัก เริ่มปล่อยตัวผลงานในระยะสั้นๆ เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นถึงความคืบหน้าของงาน และยังมีการประเมิน ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายทางธุรกิจของลูกค้าให้มากที่สุด

ซึ่งขั้นตอนของการทำงานที่ Muze เริ่มต้นจากฝ่าย Product Owner (PO) หรือผู้ดูแลแต่ละโปรเจ็กต์ ให้กับลูกค้า จะเป็นผู้ประสานงานรับข้อมูล หรือความต้องการต่างๆ จากทางลูกค้า แล้วประสานงานต่อกับคนในทีม อย่าง System Analyst (SA) หรือผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบการเขียนโปรแกรม (Coding) ให้มีระเบียบแบบแผน เพื่อออกแบบ Solution ที่เหมาะสมตอบโจทย์ธุรกิจ และช่วยลดเวลาในการทำงานให้กับทีม และส่งต่อให้กับทีม Developer ซึ่งเป็นผู้สร้างโปรแกรมให้กับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น แอปพลิเคชั่น หรือ ซอฟต์แวร์ต่างๆ โดยมี Designer หรือนักออกแบบ ออกแบบ UX (User Experience) / UI (User Interface) เพื่อความสะดวกและประสบการณ์ที่ดีบนเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่นให้กับผู้ใช้งาน
 

ภายหลังจากขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม และดีไซน์ต่างๆแล้วนั้น ก่อนเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ ทีม Quality Assurance (QA) จะเป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้งานจะสามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา เมื่อผ่านการทดสอบคุณภาพแล้วนั้น Product Owner จะเป็นผู้ส่งมอบงานให้กับลูกค้า โดยมี Technical Operation Support หรือผู้ช่วยเหลือด้านเทคนิค คอยให้คำแนะนำกับผู้ใช้งานเบื้องต้น และคอยประสานงานไปยังทีม Developer เพื่อทำการแก้ไข หากพบปัญหาในการใช้งาน โดยการทำงานทั้งหมดอยู่ภายใต้การวางแผนพัฒนาบริษัท ของ CEO (Chief Executive Officer) หรือผู้บริหาร ที่คอยดูภาพรวม ความเรียบร้อยของทุกฝ่าย รวมไปถึงตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่างๆ และในส่วนด้านของเทคโนโลยี CTO (Chief Technology Officer) จะเป็นผู้ดูแลจัดการและพัฒนาเทคโนโลยีทั้งหมด ตัดสินใจเชิงเทคนิค เพื่อสื่อสารต่อไปยังคนในทีม รวมถึงด้านผลิตภัณฑ์ ที่มี CPO (Chief Product Officer) ดูแลทิศทาง ความเป็นไปได้ รวมถึงมั่นใจว่าตอบโจทย์ Business goal ของลูกค้าได้

การเข้ามามีบทบาทของ Agile ส่งผลให้ Muze มีการวางแผนการทำงานอย่างรอบคอบ โดยเริ่มจากขั้นตอน Sprint Grooming หรือการร่วมกันวิเคราะห์หาวิธีที่จะสามารถตอบโจทย์ลูกค้าระหว่าง SA และ PO เป็นหลัก เพื่อช่วยลดเวลาในการทำงานให้กับทีม จากนั้น จะเป็นขั้นตอนของ Sprint Planning หรือการวางแผนในการทำงาน และระยะเวลาในการทำงานจากโจทย์ที่ได้รับร่วมกับทุกคนในทีม (SA, PO, Dev, QA) หลังจากนั้น จะเข้าสู่การลงมือปฏิบัติจริง โดยในแต่ละวันจะมีการประชุมทีม หรือ Daily Stand-up เพื่ออัพเดทงานว่าในแต่ละขั้นตอนดำเนินการไปถึงไหน หรือมีปัญหาอย่างไร และในช่วงกลางของการทำงานจะมีการเตรียมการอย่างต่อเนื่อง ในขั้นตอน Product Backlog Refinement ว่าในขั้นตอนต่อไปต้องทำอะไรบ้าง หรือควรเพิ่มเติมปรับปรุงอย่างไร โดยเป็นการออกความเห็นร่วมกัน ระหว่างทางทีมของ Muze และลูกค้า โดยมีทีม Dev ให้คำแนะนำว่าสามารถทำในเวลาที่ตั้งไว้ได้หรือไม่ หลังจากนั้นจะมีการสาธิตวิธีการใช้งานในขั้นตอน Sprint Review เพื่อ Demo Product ที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กับ PO และผู้ใช้งานเพื่อเป็นการรายงานความคืบหน้าว่าที่ผ่านมาเราทำอะไรไปแล้วบ้าง รวมถึงผลตอบรับจากทางลูกค้า สำหรับการปรับปรุงในครั้งต่อไป โดยในขั้นตอนสุดท้ายคือ Sprint Retrospective จะเป็นการพูดคุยกันภายในทีมแชร์และเสนอแนะการปรับปรุงการทำงาน โดยอาจพูดคุยกับทีมลูกค้าด้วย ว่าที่ผ่านมาเรามีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพื่อความรู้สึกของการทำงานเป็นทีมเดียวกัน และในขณะเดียวกันก็สามารถนำคำแนะนำมาปรับการทำงานที่ดีขึ้นในครั้งถัดไป 

ข้อสังเกตที่เห็นได้ชัด จากการประยุกต์ใช้แนวคิดการทำงานแบบ Agile ที่ Muze นั้น คือการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ คุมประสิทธิภาพของการทำงาน และระยะเวลาในการทำงานให้อยู่ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด ประกอบกับ Muze ยังมีบรรยากาศการทำงานที่เป็นกันเอง เปิดโอกาสให้พนักงานเสนอความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา หรือออกไอเดียต่างๆได้ จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ระบบการทำงานแบบ Agile ที่ Muze นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากทำให้ทุกคนในทีมกล้าที่สื่อสาร สามารถสื่อสารกันได้ดียิ่งขึ้น ก่อให้เกิดผลงานที่ดี และการสร้างสรรค์ที่ยอดเยี่ยม ด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้ Muze ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโซลูชั่นเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นให้แบรนด์ขนาดใหญ่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบ OTT (Over-the-Top) ให้กับบริษัท BECi ยักษ์ใหญ่ด้านวงการสื่อสารมวลชนของไทย การร่วมพัฒนา Omni-Channels กับ McGroup แบรนด์กางเกงยีนส์รายใหญ่ของไทยจนสามารถสร้างยอดขายเฉพาะ Online ได้กว่า 500 ล้านบาทต่อปี รวมถึงเป็นผู้พัฒนาระบบหลังบ้านมากมายให้บริษัทในเครือ True Corporation นอกจากนี้ Muze ยังพัฒนาโซลูชั่นด้าน e-Commerce อีกมากมายที่ช่วยให้แบรนด์สามารถปรับตัวและอยู่รอดในยุคดิจิทัลได้อย่างแข็งแกร่ง
ใหม่กว่า เก่ากว่า