ข้อดี 5 ประการสำหรับธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่จะได้รับจากเอดจ์


การนำเทคโนโลยีด้านการปฏิรูปสู่ดิจิทัลมาใช้จะช่วยให้บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มพร้อมรับมือกับความท้าทายที่มีมายาวนาน ซึ่งจะให้ประโยชน์อย่างยิ่งในเรื่องกำไร อีกทั้งยังช่วยให้บรรลุเป้าหมายเรื่องความยั่งยืนและความปลอดภัยของพนักงาน แต่ทั้งหมดนี้ล้วนขึ้นอยู่กับการมีทรัพยากรด้านการประมวลผลที่เพียงพอที่ เอดจ์สำหรับอุตสาหกรรม

การปฏิรูปทางดิจิทัลเกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์ที่ให้ความชาญฉลาด รวมถึงระบบเซ็นเซอร์ในการรวบรวมข้อมูลจากอุปกรณ์ รวมถึงกระบวนการต่างๆ ในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม แนวคิดก็คือการนำประสิทธิภาพใหม่ๆ มาใส่ไว้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ที่ฟาร์ม และในกระบวนการผลิต ตลอดจนซัพพลายเชน และการส่งของไปยังผู้ค้าปลีก

ประโยชน์ของการปฏิรูปสู่ดิจิทัล

เมื่อติดตั้งกระบวนการในระบบดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยให้บริษัทด้านอาหารและเครื่องดื่มรับรู้ได้ถึงประโยชน์สำคัญใน 5 เรื่องต่อไปนี้

1. ขยายคุณค่าในการใช้งานสินทรัพย์ได้สูงสุด

การนำขุมพลังของเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือ IoT รวมถึงบิ๊กดาต้าและระบบวิเคราะห์มาช่วย จะทำให้บริษัทด้านอาหารและเครื่องดื่ม สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน หรือ CapEx มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ จากการทำให้สินทรัพย์ใช้งานได้ยาวนาน การติดตั้งเครื่องมือในการตรวจวัดจะช่วยให้มีข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของอุปกรณ์ที่ให้ศักยภาพด้านการวิเคราะห์และการซ่อมบำรุงเชิงคาดการณ์ได้ การเปรียบเทียบข้อมูลปัจจุบันกับข้อมูลพื้นฐานที่กำหนด ทำให้บริษัทสามารถประเมินช่วงเวลาที่อุปกรณ์ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ เพื่อกำหนดช่วงเวลาในการซ่อมบำรุง แนวทางดังกล่าวช่วยให้มั่นใจว่าอุปกรณ์จะยังคงทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอยู่เสมอ และเป็นการยืดอายุสินทรัพย์ที่มีค่าเหล่านี้ให้ใช้งานได้นานขึ้น

2. ปรับปรุงการดำเนินงาน

เทคโนโลยีระบบดิจิทัลต้องอาศัยการติดตามข้อมูลในปริมาณมาก ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มตลอดจนซัพพลายเชนต้องอาศัยข้อมูลเหล่านี้ในปัจจุบัน ซึ่งแต่ละบริษัทต้องรับมือกับจำนวนของ SKU ที่เพิ่มขึ้นตลอดและแต่ละ SKU ก็มีข้อมูลมากมายที่เชื่อมต่อกันเพื่ออธิบายถึงรายละเอียดของสินค้าแต่ละชุด ทั้งวัตถุดิบ การดำเนินการผลิต และอีกมากมาย ผลก็คือทำให้มีข้อมูลจำนวนหลายล้านจุดที่ต้องติดตาม ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการมากมาย เช่น สายงานด้านบรรจุภัณฑ์ จำเป็นต้องมีการประมวลผลแบบเรียลไทม์ หรือในความเร็วที่ใกล้เคียง การติดตั้งโซลูชันซอฟต์แวร์และการประมวลผลที่ไซต์งาน สามารถปฏิรูปการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ผลกำไร และผลตอบแทนได้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นเพื่อให้ตอบสนองความต้องการในตลาดได้

3. บริหารจัดการเรื่องคุณภาพและการใช้งานได้สอดคล้องตามกฏข้อบังคับ

การติดตามเรื่องคุณภาพของสินค้าต้องอาศัยข้อมูลมากมาย รวมถึงการดูแลการดำเนินงานให้สอดคล้องตามกฏระเบียบหลายอย่างจากภาครัฐฯ นอกจากนี้ บริษัทด้านอาหารและเครื่องดื่มยังต้องเจอกับความกดดันที่ต้องแสดงความโปร่งใสเกี่ยวกับแหล่งที่มาของอาหารทั้งหมด เพื่อให้สามารถติดตามอย่างละเอียดได้ตลอดทั่วทั้งซัพพลายเชน ตั้งแต่จากฟาร์มจนถึงโต๊ะอาหาร ซึ่งเทคโนโลยีระบบดิจิทัลสามารถช่วยให้บริษัทต่างๆ รับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้ พร้อมกับช่วยให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์มีความแม่นยำเพิ่มขึ้นถึง 17 เปอร์เซ็นต์

4. ตอบโจทย์เป้าหมายด้านพลังงานและความยั่งยืน

บริษัทด้านอาหารและเครื่องดื่มต่างอยู่ภายใต้ความกดดันที่ต้องปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพด้านพลังงานและความพยายามในการสร้างความยั่งยืน ซึ่งเครื่องมือที่ช่วยให้ใช้งานอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสมรวมถึงให้ประสิทธิภาพในเรื่องการมอนิเตอร์ อีกทั้งต้องช่วยให้มั่นใจว่ามีการใช้สาธารณูปโภคต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงเรื่องพลังงานและน้ำ จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นได้ว่าการใช้พลังงานลดลงถึง 35 เปอร์เซ็นต์

5. ปรับปรุงศักยภาพและความปลอดภัยของคนทำงาน

สุดท้ายก็คือ เทคโนโลยีระบบดิจิทัลช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับพนักงานในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อีกทั้งสร้างศักยภาพให้คนเหล่านี้ด้วยเครื่องมือในระบบดิจิทัลและข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อช่วยให้ตัดสินใจด้านการดำเนินการได้ดียิ่งขึ้น และบำรุงรักษาได้ง่ายขึ้น เทคโนโลยีที่ให้ความสมจริงอย่าง AR และโปรแกรมจำลองการฝึกอบรมด้านการดำเนินงานช่วยฝึกอบรมพนักงาน เพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มความปลอดภัยและผลิตผล ทั้งนี้ผลสำรวจที่จัดทำโดย Capgemini Research Institute ที่ทำสำรวจกว่า 600 บริษัท พบว่ากว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่มีการติดตั้งระบบ AR/VR ขนาดใหญ่ รายงานว่าได้รับประโยชน์ในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จากการเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มผลิตผล และเพิ่มความปลอดภัย

การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ต้องอาศัย เอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์สำหรับอุตสาหกรรม

เทคโนโลยีในการทรานส์ฟอร์มนำพาประโยชน์ต่างๆ เหล่านี้ มาให้บริษัทด้านอาหารและเครื่องดื่ม แต่ด้วยธรรมชาติการทำงานแบบเรียลไทม์ของแอปพลิเคชันต่างๆ และกฏระเบียบที่มักจะต้องให้มีการจัดเก็บข้อมูลอยู่ในพื้นที่ จึงควรที่จะต้องใช้เอดจ์สำหรับอุตสาหกรรมมาช่วย ให้คิดว่าเอดจ์สำหรับอุตสาหกรรมคือสิ่งที่จะช่วยให้คุณเร่งการปฏิรูปสู่ดิจิทัล เพื่อบรรลุผลเรื่องความปลอดภัยในการทำงานที่เพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพด้านการดำเนินงาน และความยั่งยืน

โซลูชันประเภทใดที่จำเป็นสำหรับเอดจ์เพื่ออุตสาหกรรมบริษัทด้านอาหารและเครื่องดื่มจะต้องเปลี่ยนมาใช้โซลูชันที่สามารถมอนิเตอร์และควบคุมระบบงานที่ไม่ใช่แค่ในโรงงาน แต่รวมถึงซัพพลายเชนตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ตัวอย่างของโซลูชันที่ใช้ง่ายและให้มุมมองเชิงลึกที่นำไปดำเนินงานได้เพื่อให้การดำเนินงานครบวงจรแบบเอ็นด์-ทู-เอ็นด์ที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ EcoStruxure for Food and Beverage และ AVEVA’s software

นอกจากนี้ โซลูชันไมโคร ดาต้าเซ็นเตอร์ ยังมอบศักยภาพในการใช้อุปกรณ์ไอทีได้อย่างปลอดภัยและน่าเชื่อถือในสภาพแวดล้อมที่ไม่ใช่ไอที หนึ่งในตัวอย่างของการใช้ไมโคร ดาต้าเซ็นเตอร์ คือ EcoStruxure Micro Data Center C-Series รุ่นใหม่กะทัดรัดของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่มาพร้อม UPS ผสานรวมอยู่ในตัว และอุปกรณ์ควบคุมและจ่ายไฟ (PDU) รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยในตู้ที่ดูเล็กลงกว่ารุ่นก่อนหน้าถึง 60 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ใหญ่มากพอที่จะรองรับเซิร์ฟเวอร์เอดจ์ขนาดใหญ่ได้

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางที่เทคโนโลยีสามารถช่วยคุณปฏิรูปสู่ดิจิทัลได้ ได้ที่ EcoStruxure for Food and Beverage


โดย เปาโล โคลัมโบ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ Go To Market สำหรับผู้วางระบบและผู้ประกอบการด้านเครื่องจักร ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ใหม่กว่า เก่ากว่า