The Stanford Thailand Research Consortium เชิญบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่ วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการวิจัย Innovative Teaching Scholars (ITS) รุ่นต่อไป ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มที่จัดตั้ งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจั ยของคณาจารย์จากมหาวิทยาลั ยสแตนฟอร์ด โดยได้ร่วมมือกับศูนย์พั ฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน ( Southeast Asia Center หรือ SEAC) ซึ่งมุ่งเน้นศึกษาวิจัยการพั ฒนาที่สำคัญต่ ออนาคตของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงสู่สังคมดิจิทั ลของประเทศไทยถูกเร่งให้เร็วขึ้ นจากการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ ของโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้เกิดรูปแบบใหม่ ของการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การทำธุรกิจ การศึกษา และในด้านอื่น ๆ อีกมากมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในบรรดาผู้ที่ได้รั บผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอย่ างรวดเร็วครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาและผู้ที่เพิ่งสำเร็ จการศึกษาซึ่งกำลังเข้าสู่ ตลาดแรงงานที่ต้องใช้ทักษะใหม่ๆ ดังที่ ดร. บริทอส คาแวคแนโร ศาสตราจารย์พิเศษ จากสถาบันการออกแบบ แฮซโซ่ แพลทเนอร์ ( Hasso Plattner) ผู้นำร่วมในโครงการ ITS ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า มหาวิทยาลัยทั่วโลกต่างกำลั งเผชิญกับปัญหาด้านความไม่ สอดคล้องระหว่างการเตรี ยมความพร้อมของนักศึกษากับทั กษะและวิธีคิด ( Mindset) ที่จำเป็นต่อความสำเร็ จในการประกอบอาชีพในอนาคต ความพิเศษของโครงการ ITS คือการมุ่งสร้างความร่วมมื อระหว่างบุคลากรทางการศึ กษาไทยที่สนใจปรับมุมมองสู่ การศึกษายุคใหม่ และผู้นำเชิงนวัตกรรมจากภาคองค์ กรระดับประเทศ ซึ่งกำลังมองหาคนรุ่นใหม่ที่พร้ อมจะสร้างความก้าวหน้าในองค์ กรไทยในอนาคต
ปัจจุบัน โครงการวิจัยของ ITS กำลังติดอาวุธให้แก่คณาจารย์ มหาวิทยาลัยไทยจำนวน 50 ท่าน ด้ วยการทดลองการนำแนวทางการสอนแบบ ใหม่ ในการเตรียมความพร้อมนักศึ กษาเพื่อมุ่งสร้างความสำเร็ จในการประกอบอาชีพ ตลอดจนช่วยส่งเสริมอาจารย์เหล่ านั้นให้เป็นผู้นำที่สามารถสร้ างแรงบันดาลใจให้เพื่อนร่ วมงานและสถาบันของพวกเขาได้ ทำในสิ่งเดียวกัน
เมื่อเร็ว ๆ นี้ the Stanford Thailand Research Consortium ได้จัดงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “ Future Thailand – Innovation in Education and Workforce Development” เพื่อถ่ายทอดผลการศึกษาเบื้องต้ นจากโครงการวิจัย ITS พร้อมแบ่งปันมุมมองของภาคอุ ตสาหกรรมเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็ นของนักศึกษา จากตัวแทนขององค์กรชั้ นนำในประเทศไทย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย (สามารถดูการสัมมนาออนไลน์ได้ ที่นี่ )
VIDEO
ตัวอย่างแนวทางการสอนรูปแบบใหม่ ของโครงการวิจัย ITS
เปิดโอกาสให้นักศึกษามีอิ สระในการตัดสินใจมากขึ้นในห้ องเรียน ซึ่งเพิ่มการมีส่วนร่วมในชั้ นเรียนได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ทำงานร่วมกับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้ นเข้าสู่การทำงาน รวมถึงตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรม เพื่อช่วยระบุทักษะเฉพาะที่ จำเป็นต่อความสำเร็ จในการประกอบอาชีพในอนาคต และนำมาปรับใช้ในหลักสูตรการสอน มุมมองของภาคธุรกิจต่อปัญหา “ช่องว่างทักษะ”
ความร่วมมือในการทำงานระหว่ างภาครัฐ องค์กรภาคการศึกษา ตลอดจนภาคเอกชน คือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรั บการปิดช่องว่างทางทักษะอย่ างเป็นรูปธรรม ผู้สอนจำเป็นต้องพัฒนารู ปแบบการสอนและเรียนรู้การใช้นวั ตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงกับนักเรียนที่เน้ นนักเรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้ จริง ไม่เพียงแต่ความรู้ด้านทฤษฏี นักเรียนจำเป็นต้องมี ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การสื่อสาร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น รวมถึงความสามารถในการปรับตั วให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ ยวกับโครงการ Innovative Teaching Scholars และรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกั บการสมัครเข้าร่วมโครงการในรุ่ นถัดไป โปรดกรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์ มนี้: https://forms.gle/76 FL1 b9 rrmsc qKJz6
นอกจากโครงการ Innovative Teaching Scholars แล้ว ภายใต้ความร่วมมือของ the Stanford Thailand Research Consortiumยังมีโครงการวิจัยด้ านต่าง ๆ รวมถึงโครงการวิจัยด้านการศึ กษาของสแตนฟอร์ด มากกว่า 12 โครงการ ซึ่งมุ่งเน้นความสำคั ญในหลากหลายหัวข้อ อาทิเช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปั ญญาประดิษฐ์ ( Artificial Intelligent – AI) มาช่วยสนับสนุนการดูแลผู้สู งอายุให้ดีขึ้น โครงการลดการตัดไม้ทำลายป่าพร้ อมช่วยเหลือเกษตรกรรายย่ อยในเขตจังหวัดน่านของประเทศไทย รวมทั้งการสร้างข้อมูลเชิงลึ กขององค์กรโดยใช้ประโยชน์จากชุ ดข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง ( Unstructured Data) และการสร้างความเข้าใจนวั ตกรรมผ่านการพัฒนาความรู้บุ คลากร
The Stanford Thailand Research Consortium ตั้งอยู่ที่ Stanford’s Office of Vice Provost and Dean of Research ซึ่งบริหารโดย ศูนย์พัฒนาวิชาชีพแห่งมหาวิ ทยาลัยสแตนฟอร์ด ( Stanford Center for Professional Development) โดยได้ร่วมมือกับ ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรี ยนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซี ยน (Southeast Asia Center: SEAC) ในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนเงินทุน จาก บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย