LG เผยผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2021 สร้างสถิติยอดขายประจำไตรมาสสูงสุดเป็นประวัติการณ์


แอลจี อีเลคทรอนิคส์ อิงค์ (แอลจีประกาศผลประกอบการประจำไตรมาสที่สร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง ในขณะที่บริษัทยังคงขยายส่วนแบ่งตลาดนอกประเทศเกาหลีใต้ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและเครื่องใช้ไฟฟ้าระดับพรีเมียมอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลประกอบการรวมทั่วโลกที่ 1.526 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือประมาณ 5.04 แสนล้านบาท) เติบโตขึ้น 48.4 เปอร์เซ็นต์จากไตรมาสที่ ของปีที่แล้ว กำไรจากการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ ของปี 2564 เพิ่มขึ้น 65.5 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มูลค่า 992.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือประมาณ 3.27 หมื่นล้านบาท) ทั้งนี้ ไม่รวมผลจากกลุ่มผลิตภัณฑ์โทรศัพท์มือถือซึ่งชะลอการดำเนินงานอย่างเป็นทางการเมื่อช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นการดำเนินธุรกิจที่ถูกยกเลิกไปแล้ว และจะไม่ถูกนำมารวมในรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสอีกต่อไป

กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและเครื่องปรับอากาศรายงานรายได้ประจำไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ 6.08 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือประมาณ 2.01 แสนล้านบาท) ซึ่งเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ 32.1 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีที่ผ่านมา กำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 6.8 เปอร์เซ็นต์จากไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้ว ที่ 582.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือประมาณ 1.92 หมื่นล้านบาท) โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากยอดขายที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในตลาดอื่น ๆ นอกประเทศเกาหลีใต้ และการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดียิ่งขึ้น แม้มีการคาดการณ์ว่าต้นทุนจะสูงขึ้นเนื่องจากวัตถุดิบในการผลิตจะขาดแคลนมากขึ้น ในขณะที่โลกซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มกลับสู่สภาวะปกติ แอลจีคาดหวังว่าความสามารถในการแข่งขันด้านผลิตภัณฑ์และประสิทธิภาพในการดำเนินงานจะช่วยให้บริษัทรักษาอัตรายอดขายและผลกำไรสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ในตลาดหลักได้สำเร็จ

 


กลุ่มผลิตภัณฑ์โฮมเอ็นเตอร์เทนเมนต์ มีรายได้เพิ่มขึ้นที่ 3.60 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือประมาณ 1.19 แสนล้านบาท) ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ 79.1 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว กำไรจากการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดที่ 297.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือประมาณ 9.81 พันล้านบาท) ซึ่งเพิ่มขึ้น 216.4 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบแบบปีต่อปี เป็นผลจากความนิยมที่เพิ่มขึ้นต่อผลิตภัณฑ์ทีวี OLED และการฟื้นตัวของตลาดทีวีทั่วโลก กลุ่มผลิตภัณฑ์โฮมเอ็นเตอร์เทนเมนต์ของแอลจีได้วางกลยุทธ์โดยเน้นการขยายกลุ่มลูกค้าทีวีระดับพรีเมียมให้เติบโตและบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้คล่องตัวยิ่งขึ้น


กลุ่มผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ บรรลุเป้าหมายในการสร้างยอดขายประจำไตรมาสที่ ที่ 1.68 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือประมาณ 5.54 หมื่นล้านบาท) ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่106.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 โดยเป็นผลลัพธ์มาจากการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ และความต้องการที่เพิ่มขึ้นต่อชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า (xEV) การดำเนินงานของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ขาดทุนที่ 92.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือประมาณ 3.04 พันล้านบาท) เนื่องจากเซมิคอนดักเตอร์ซึ่งเป็นชิ้นส่วนยานยนต์มีราคาพุ่งสูงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา นอกจากนี้ แอลจียังต่อยอดความรู้ความเชี่ยวชาญด้านชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าขั้นสูง โดยก่อตั้งกิจการร่วมค้ากับ แม็กนา อินเตอร์เนชั่นแนล (Magna International) ซึ่งเคยประกาศความร่วมมือออกไปก่อนหน้านี้ ภายใต้บริษัทใหม่ที่มีชื่อว่า แอลจี แม็กนา อี-พาวเวอร์เทรน (LG Magna e-Powertrain) โดยได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

กลุ่มธุรกิจโซลูชั่นสำหรับองค์กร สร้างสถิติรายได้ประจำไตรมาสที่ 2 ที่ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือประมาณ 4.95 หมื่นล้านบาทซึ่งเติบโตอย่างมั่นคงที่ 28.9 เปอร์เซ็นต์จากปีที่ผ่านมา โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากความต้องการอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่องในผลิตภัณฑ์พีซี จอมอนิเตอร์ และการฟื้นตัวทีละน้อยของป้ายโฆษณาดิจิทัลและระบบทีวีโรงแรม อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานยังคงขาดทุนที่ 55.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือประมาณ 1.82 พันล้านบาท) เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นของชิ้นส่วนหลัก ได้แก่ แผงจอ LCD และโซลาร์เวเฟอร์ โดยแผนการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังเพื่อสร้างการเติบโตของผลกำไรขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของตลาด B2B รวมถึงการพัฒนาเสถียรภาพของชิ้นส่วนหลัก และการดำเนินงานเพื่อลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง

 

ข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของไตรมาสที่2 ปี 2564 


รายได้ที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบด้านบัญชีประจำไตรมาสของ แอลจี อีเลคทรอนิคส์ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ IFRS (International Financial Reporting Standards) สำหรับช่วงสามเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ทั้งนี้ อัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐจะเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยของสามเดือนในไตรมาสเดียวกัน โดยอัตราแลกเปลี่ยน ณ ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 อยู่ที่ 33 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ (ตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารแห่งประเทศไทย) 

ใหม่กว่า เก่ากว่า