ผลสำรวจล่าสุดของ VISA เผยคนไทยสามารถใช้ชีวิตโดยไม่พึ่งเงินสดได้นานถึงแปดวัน หลังมีวิธีชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น


วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก เผยผลการสำรวจฉบับล่าสุดเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปีของวีซ่า ที่สะท้อนให้เห็นว่ามากกว่าสี่ในห้าของคนไทย (82 เปอร์เซ็นต์) ได้ลองใช้ชีวิตแบบไร้เงินสด โดยเฉลี่ยคนไทยสามารถใช้ชีวิตโดยไม่พึ่งเงินสดได้มากกว่าหนึ่งสัปดาห์ (แปดวัน)

 

สถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นได้กระตุ้นให้ผู้บริโภคที่ไม่เคยใช้วิธีการชำระเงินแบบคอนแทคเลสหันมาทดลองแตะเพื่อจ่ายแทนเงินสดมากขึ้น โดยผู้บริโภคเลือกทดลองแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟนมากที่สุดเป็นอันดับแรก (26 เปอร์เซ็นต์) ตามด้วยแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลส (23 เปอร์เซ็นต์) และสแกนจ่ายผ่านคิวอาร์โค้ด (21 เปอร์เซ็นต์)

 

สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ในช่วงไม่มีกี่ปีที่ผ่านมา มีจำนวนผู้บริโภคที่หันมาเลือกใช้วิธีการชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมายิ่งเป็นเสมือนตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนพร้อมกันทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน เราเชื่อว่าพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปอย่างถาวร”

 


นอกจากนี้จากการสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า สามข้อดีของการก้าวสู่สังคมไร้เงินสด คือ เป็นการช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโรค (61 เปอร์เซ็นต์) ไม่ต้องต่อคิวในธนาคาร (60 เปอร์เซ็นต์) และช่วยให้สามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวของบัญชีได้ง่ายขึ้น (59 เปอร์เซ็นต์)

 

โดยผู้บริโภคชาวไทยรับรู้และคุ้นเคยกับการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดมากที่สุด (94 เปอร์เซ็นต์) ตามด้วยวิธีการชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟน (92 เปอร์เซ็นต์) และการแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลส (89 เปอร์เซ็นต์) ส่วนในด้านของการใช้งานจริงนั้น 45 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ทำแบบสอบถามเลือกชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟนมากที่สุด ตามมาด้วยการสแกนชำระผ่านคิวอาร์โค้ด (42 เปอร์เซ็นต์) และแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลส (41 เปอร์เซ็นต์)

 

 

ผู้บริโภคชาวไทยเชื่อว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นเป็นเสมือนตัวเร่งให้ประเทศก้าวสู่สังคมไร้เงินสดเร็วขึ้นเพราะนวัตกรรมด้านการชำระเงินเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ในสถานการณ์ปัจจุบัน พวกเขาเชื่อว่าสังคมไร้เงินสดสามารถเกิดขึ้นได้จริงในปี 2026 ในขณะที่ก่อนการแพร่ระบาดคนไทยเคยคิดว่าสังคมไร้เงินสดจะไม่มีทางเกิดขึ้นก่อนปี 2030 อย่างแน่นอน

 

“ปีนี้จะเป็นปีแห่งการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจภายใต้กระแสของความไม่แน่นอน ในขณะที่ผู้บริโภคต่างปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยีการชำระเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ๆ เหล่าร้านค้าและภาคธุรกิจต่างต้องก้าวให้ทันตามความต้องการของและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป สำหรับวีซ่า เราจะยังมุ่งมั่นพัฒนาและร่วมมือกับทุกภาคส่วนในระบบนิเวศการชำระเงินเพื่อช่วยให้ประเทศไทยสามารถเดินหน้าตามแผนการฟื้นฟู และเติบโตต่อไปในอนาคต” สุริพงษ์ กล่าวสรุป



นอกจากนี้จากการสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า สามข้อดีของการก้าวสู่สังคมไร้เงินสด คือ เป็นการช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโรค (61 เปอร์เซ็นต์) ไม่ต้องต่อคิวในธนาคาร (60 เปอร์เซ็นต์) และช่วยให้สามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวของบัญชีได้ง่ายขึ้น (59 เปอร์เซ็นต์)

 

โดยผู้บริโภคชาวไทยรับรู้และคุ้นเคยกับการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดมากที่สุด (94 เปอร์เซ็นต์) ตามด้วยวิธีการชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟน (92 เปอร์เซ็นต์) และการแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลส (89 เปอร์เซ็นต์) ส่วนในด้านของการใช้งานจริงนั้น 45 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ทำแบบสอบถามเลือกชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟนมากที่สุด ตามมาด้วยการสแกนชำระผ่านคิวอาร์โค้ด (42 เปอร์เซ็นต์) และแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลส (41 เปอร์เซ็นต์)

 

 

ผู้บริโภคชาวไทยเชื่อว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นเป็นเสมือนตัวเร่งให้ประเทศก้าวสู่สังคมไร้เงินสดเร็วขึ้นเพราะนวัตกรรมด้านการชำระเงินเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ในสถานการณ์ปัจจุบัน พวกเขาเชื่อว่าสังคมไร้เงินสดสามารถเกิดขึ้นได้จริงในปี 2026 ในขณะที่ก่อนการแพร่ระบาดคนไทยเคยคิดว่าสังคมไร้เงินสดจะไม่มีทางเกิดขึ้นก่อนปี 2030 อย่างแน่นอน

 


“ปีนี้จะเป็นปีแห่งการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจภายใต้กระแสของความไม่แน่นอน ในขณะที่ผู้บริโภคต่างปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยีการชำระเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ๆ เหล่าร้านค้าและภาคธุรกิจต่างต้องก้าวให้ทันตามความต้องการของและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป สำหรับวีซ่า เราจะยังมุ่งมั่นพัฒนาและร่วมมือกับทุกภาคส่วนในระบบนิเวศการชำระเงินเพื่อช่วยให้ประเทศไทยสามารถเดินหน้าตามแผนการฟื้นฟู และเติบโตต่อไปในอนาคต” สุริพงษ์ กล่าวสรุป


ใหม่กว่า เก่ากว่า