Huawei เสนอห้าลำดับสำคัญเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม พร้อมเปิดตัวรายงาน Global Connectivity Index ฉบับที่ 7


หัวเว่ย เปิดตัวรายงาน Global Connectivity Index (GCI) 2020 ซึ่งเป็นรายงาน GCI ที่จัดทำขึ้นเป็นฉบับที่ 7 และเป็นครั้งแรกที่รายงานดังกล่าวเสนอห้าลำดับสำคัญเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลสำหรับภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย การเสริมประสิทธิภาพของงานแต่ละชิ้นการเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, การเสริมประสิทธิภาพระบบการเสริมประสิทธิภาพและความคล่องตัวขององค์กร รวมถึงการเสริมประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในอีโคซิสเต็

 

รายงาน GCI 2020 ชี้ว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมจะช่วยให้แต่ละประเทศเพิ่มศักยภาพการผลิต เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ และพัฒนาความสามารถในการแข่งขันในอนาคตได้อย่างดีเยี่ยม ผลการวิจัยจาก GCI ยังระบุว่าเศรษฐกิจที่สามารถเสริมความแข็งแกร่งด้านการผลิต และปรับตัวสู่ระบบดิจิทัลซึ่งขับเคลื่อนด้วยการเชื่อมต่ออัจฉริยะ จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มรวม (GVA) ต่อคนหรือต่อชั่วโมงการทำงานได้

 


ประเทศ Starters เดินหน้ารุกคืบ เร่งลดระยะห่างทางเศรษฐกิจ


รายงาน GCI 2020 ระบุว่าบรรดาประเทศที่อยู่ในช่วงต้นของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Starter) มีความคืบหน้าด้านการขยายความครอบคลุมบรอดแบนด์ในประเทศอย่างเห็นได้ชัด โดยพบว่ามีอัตราการเข้าถึงบริการบรอดแบรนด์โทรศัพท์เคลื่อนที่มากขึ้นถึง 2.5 เท่า และมีราคาค่าบริการที่ย่อมเยาขึ้นถึง 25% ในขณะที่อัตราผู้รับบริการสัญญาณ 4G เพิ่มขึ้นจาก 1เป็น 19% ซึ่งความสำเร็จนี้ทำให้เหล่าประเทศ Starter ให้บริการดิจิทัลที่ครอบคลุมได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้สามารถตอบรับโอกาสที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่างบประมาณด้านอีคอมเมิร์ซของประเทศเหล่านี้พุ่งสูงขึ้นเป็นสองเท่าตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา หรือคิดเป็นเม็ดเงินที่ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว โดยบางประเทศ Starter สามารถดันตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ได้สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ถึง 22และในปี 2563 ที่ผ่านมา ประเทศอย่างเวียดนามและเปรู ก็กลายเป็นระบบเศรษฐกิจที่รับเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในประเทศ (Adopter) เป็นที่เรียบร้อย

 

องค์กรต่าง ๆ ในประเทศ Frontrunner ต่างระบุว่าควรรักษางบประมาณด้านไอทีไว้เช่นเดิม


งานวิจัยชี้ว่า ความพร้อมขององค์กรในการลงทุนด้านไอทีมักขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งของธุรกิจ โดยพบว่า องค์กรที่ดำเนินงานอยู่ในประเทศที่รับเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่มาใช้เป็นอันดับต้น ๆ (Frontrunner) และประเทศที่กำลังรับเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ (Adopter) ต่างให้ความสำคัญต่องบประมาณด้านไอทีมากกว่างบประมาณอื่น ๆ ดังนั้น ประเทศที่มีความพร้อมด้านโครงสร้างดิจิทัลมากกว่า ก็จะสามารถลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่สืบเนื่องมาจากภาวะโรคระบาด ส่งผลให้ฟื้นตัวได้เร็ว และมีความต่อเนื่องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่จะก่อให้เกิดศักยภาพการผลิตที่สูงขึ้น

 

การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของภาคเศรษฐกิจจะช่วยพัฒนาศักยภาพการผลิต เร่งฟื้นฟูภาคธุรกิจ และเสริมความสามารถในการแข่งขัน


รายงาน GCI ยังเสนอห้าระยะสำคัญเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของภาคเศรษฐกิจ ดังนี้

 

ระยะที่ 1 เสริมประสิทธิภาพในแต่ละงาน มุ่งให้ความสำคัญต่อการติดตามงานแต่ละชิ้น ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปี่ยมประสิทธิภาพยิ่งขึ้นผ่านการเชื่อมต่อแบบพื้นฐาน

 

ระยะที่ 2 เสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานผ่านคอมพิวเตอร์และระบบอัตโนมัติที่เสริมศักยภาพด้วยเทคโนโลยีไอซีทีช่วยให้องค์กรสามารถรองรับการทำงานหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งยังช่วยให้แบ่งปันข้อมูลได้ราบรื่นยิ่งขึ้น

 

ระยะที่ 3 เสริมประสิทธิภาพระบบ ตอกย้ำความสำคัญกับการปรับระบบการทำงานหลักให้มีความเป็นดิจิทัล เพื่อการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด ธุรกิจองค์กรจะมีความต้องการการเชื่อมต่อและบริการคลาวด์ที่มากขึ้นในระยะนี้

 

ระยะที่ 4 เสริมประสิทธิภาพและความคล่องตัวขององค์กร ขั้นตอนการทำงานของธุรกิจองค์กรปรับมาอยู่ในระบบดิจิทัล และมีการผสานแอปพลิเคชันขององค์กรสู่ระบบคลาวด์ เชื่อมโยงทุกระบบอย่างเต็มรูปแบบ

 

ระยะที่ 5 เสริมประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในอีโคซิสเต็ม อีโคซิสเต็มทั้งหมดก้าวเข้าสู่ระบบดิจิทัล และสามารถปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในตลาดได้อย่างรวดเร็ว รองรับการจัดการแบบอัตโนมัติและการทำงานร่วมกันข้ามอุตสาหกรรมของภาคส่วนต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งมีเทคโนโลยีสำคัญอย่าง 5G, IOT, และวิทยาการหุ่นยนต์ ที่คอยขับเคลื่อนโอกาสทางธุรกิจ พร้อมปั้นโมเดลทางธุรกิจ วิธีการทำงาน และผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ผ่านขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมสู่ระบบดิจิทัล

 

ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนด้านไอซีทีจากรายงาน GCI 2020 ระบุว่า ถึงแม้การลงทุนในประเทศไทยจะมุ่งเน้นไปที่ด้านฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์มือถือเป็นหลัก แต่ก็ยังสามารถมองเห็นการเติบโตด้านเทคโนโลยีคลาวด์ได้อย่างต่อเนื่อง และถึงแม้ประเทศไทยจะยังต้องเผชิญปัญหาความไม่แน่นอนจากสภาพเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์ทางการเมือง ทางฝั่งของภาคธุรกิจก็ยังคงลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างนวัตกรรมด้านดิจิทัลใหม่ ๆ และเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน โดยอัตราการใช้งานเทคโนโลยีประมวลผลคลาวด์คอมพิวติ้งในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นถึงสามเท่าในช่วงสามปีที่ผ่านมา ซึ่งมีนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เป็นตัวช่วยผลักดันเทรนด์การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศอันดับที่สามในด้านความก้าวหน้าของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งและมาเลเซียซึ่งเป็นอันดับสอง 

 


รายงาน GCI ถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ที่จะช่วยเร่งพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลกับผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบเศรษฐกิจ โดยได้ประเมินความคืบหน้าของ 79 ประเทศ ซึ่งนับเป็น 95% ของมูลค่า GDP ทั้งหมด และคิดเป็น 84% ของจำนวนประชากรทั่วโลก

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่านเพิ่มได้ที่ https://www.huawei.com/minisite/gci/en

 

ใหม่กว่า เก่ากว่า