Huawei เผยเส้นทางสู่การเป็น Partner ในการให้บริการที่น่าเชื่อถือและพึ่งพาได้


นายบิล ถัง ประธานฝ่ายบริการทางเทคนิคระดับโลกของหัวเว่ย ได้กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวกับการที่ผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลกต่างต้องแบกรับภาระหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคมที่มากขึ้นในการต่อสู้กับการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ภายในงานประชุมกลุ่มผู้ใช้หัวเว่ย (Huawei User Group Meeting) ครั้งที่ 12 ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยภายใต้สุนทรพจน์หัวข้อ “พาร์ทเนอร์ด้านการให้บริการที่น่าเชื่อถือและพึ่งพาได้ทุกเมื่อ” (Reliable & Trusted Service Partner at All Times) เขากล่าวว่า ผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลกได้ยกระดับการทำงานขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ด้วยการสร้างความเชื่อมั่นว่าการเชื่อมต่อและการสื่อสารของฐานลูกค้าและชุมชนนั้นๆ จะยังคงเป็นไปอย่างราบรื่นและมีเสถียรภาพ


“จากสถานการณ์ความท้าทายดังกล่าว หัวเว่ยในฐานะผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมชั้นนำของโลกได้ทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่เพื่อรักษาการจัดการเครือข่ายที่มีเสถียรภาพ และส่งมอบบริการที่ไม่ถูกรบกวนโดยง่ายแก่ผู้ใช้งานของเรา หัวเว่ยอาศัยศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแพลตฟอร์มดิจิทัลของตนเอง เพื่อรับประกันการส่งมอบบริการและการบำรุงรักษาด้านดิจิทัลในระดับแนวหน้า ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้นผ่านคุณภาพการบริการที่พัฒนาขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ บริการลูกค้าสัมพันธ์ที่ใช้เทคโนโลยี AI, การสาธารณสุขออนไลน์ และแนวทางใหม่ด้านการตลาดต่างช่วยสร้างความแตกต่างให้แก่กลุ่มผู้ให้บริการเครือข่าย” นายบิล ถัง กล่าว

ในปีนี้ หัวเว่ยได้ติดตั้งไซต์โครงข่าย 5G และ 4G จำนวนหลายแสนแห่งทั่วโลก ทั้งประเภทเส้นใยแก้ว (optical) และเสาที่ทำหน้าที่เป็นเครือข่ายหลัก (core network sites) โดยทั้งหมดนี้ตั้งอยู่บนแพลตฟอร์ม Integrated Service Delivery Platform (ISDP) ของเรา จนถึงตอนนี้แพลตฟอร์ม ISDP มีแอปพลิเคชันมากกว่า 100 แอปฯ และมีบริการย่อยอีกมากกว่า 500 รายการ ซึ่งทั้งหมดนี้ครอบคลุมตั้งแต่ส่วนงานการส่งมอบการออกคำสั่งซื้อ การสำรวจ การส่งมอบ การตรวจรับการออกใบแจ้งหนี้ และการเก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยลดการสัมผัสหรือใกล้ชิดระหว่างบุคคลและลดความเสี่ยงทางสาธารณสุขที่อาจเกิดขึ้นได้

“เป้าหมายของเราไม่ใช่เพียงแค่ลดต้นทุนของหัวเว่ยเท่านั้น แต่รวมถึงต้นทุนของลูกค้าและพาร์ทเนอร์ของเราด้วย เราต้องการสร้างอีโคซิสเต็มที่ลดค่าใช้จ่ายของทั้งอุตสาหกรรม และการระบาดครั้งใหญ่นี้เป็นช่วงเวลาสำคัญของเราที่จะผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล” นายบิล ถัง กล่าวเสริม

ในด้านการดำเนินการปฏิบัติงานและบำรุงรักษา (O&M) เครือข่าย ระบบ AUTomation และ INtelligence (AUTIN) สามารถคาดคะเนและตรวจจับความผิดพลาดล่างหน้าได้อย่างแม่นยำ

ในด้านการดำเนินการปฏิบัติงาน หัวเว่ยได้นำเสนอแพลตฟอร์ม ADO และใช้เทคโนโลยี Machine Learning รวมถึงเทคโนโลยี AI อื่นๆ ซึ่งแพลตฟอร์มนี้จะสามารถช่วยแก้ปัญหาด้านคุณภาพประสบการณ์การใช้งานต่ำที่ผู้ใช้งานประเภทครัวเรือนต้องพบเจอ และยังสามารถช่วยจัดการด้านการร้องเรียนจากลูกค้าได้อีกด้วย

ระหว่างการระบาดของโควิด-19 สิ่งที่องค์กรธุรกิจให้ความสำคัญสูงสุดคือรักษาการเชื่อมต่อกับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ โซลูชันศูนย์บริการลูกค้าแบบ AI ของหัวเว่ยนำเสนอแพลตฟอร์มที่เปิดกว้าง มีความอัจฉริยะ และใช้รูปแบบวิดีโอเป็นหลัก ด้วยความร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่าย โซลูชัน AICC นี้จะให้บริการลูกค้าสัมพันธ์แบบอิงตามสถานการณ์เฉพาะให้กับภาคอุตสาหกรรมแนวดิ่ง อย่างเช่น หน่วยงานรัฐ สาธารณสุข ประกันภัย อินเทอร์เน็ต และธนาคาร

อย่างไรก็ตาม บริการที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากการขับเคลื่อนในรูปแบบดิจิทัล GDE (General Digital Engine)อันทรงพลังของหัวเว่ย ซึ่งทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์และเป็นอีโคซิสเต็มที่สนับสนุนการต่อขยายและรองรับบริการย่อยต่างๆ

นายบิล ถัง กล่าวปิดท้ายว่า “วัตถุประสงค์หลักของการประชุมครั้งนี้คือรับฟังความเห็น ข้อเสนอแนะ และความคาดหวังของทุกท่าน ซึ่งผมเชื่อว่าเสียงสะท้อนของทุกๆ ท่านคือพลังในการพัฒนาของหัวเว่ย”

ใหม่กว่า เก่ากว่า