Huawei จับมือ UNESCO จัดสัมมนาผ่านเว็บไซต์ด้านการศึกษาออนไลน์ระดับอุดมศึกษา เพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 จากโครงการ Learn ON


เมื่อเร็วๆ นี้ หัวเว่ยจัดสัมมนาผ่านเว็บไซต์สำหรับการศึกษาออนไลน์ในระดับอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนให้เกิดความต่อเนื่องของการศึกษาออนไลน์ในช่วงปิดภาคเรียนชั่วคราวตามโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยการสัมมนาดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือของหัวเว่ยและกลุ่มพาร์ทเนอร์ ซึ่งรวมถึงยูเนสโก IITE และ ยูเนสโก-ICHEI อันถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของโครงการ Learn ON ของหัวเว่ย

กลุ่มผู้นำและผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรต่างๆ และมหาวิทยาลัยระดับโลกได้รับเชิญให้เข้าร่วมแบ่งปันแนวทางปฏิบัติและความท้าทายที่พบจากการศึกษาออนไลน์ระหว่างช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 โดยพวกเขายังได้หารือกันถึงวิธีแก้ปัญหาที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ รวมถึงการรองรับความต่อเนื่องทางการศึกษา และการรักษาคุณภาพของการศึกษาออนไลน์ในระหว่างที่โรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างๆ ยังปิดอยู่

นักศึกษากว่า 1,500 ล้านคนทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบจากการที่สถาบันการศึกษาต่างๆ ต้องปิด เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบในเบื้องต้น ยูเนสโกจึงเปิดตัวกลุ่มพันธมิตรทางการศึกษาระดับโลก (The Global Education Coalition) ซึ่งประกอบด้วยองค์กรระหว่างประเทศ ประชาสังคม และกลุ่มธุรกิจที่ต่างมีพันธกิจร่วมในการสร้างความเชื่อมั่นว่าการเรียนรู้ไม่มีวันหยุด
ในฐานะหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรดังกล่าว หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะมอบคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีให้แก่ทุกคน โดยได้พัฒนาโครงการ TECH4ALL ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัลระยะยาวในการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ เพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพและให้ผู้คนสามารถเข้าถึงได้ ถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของโครงการ และเพื่อขานรับคำเชิญของยูเนสโก หัวเว่ยและกลุ่มพาร์ทเนอร์ในระดับโลก จึงเปิดตัวโครงการ Learn ON ซึ่งใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีไอซีที เพื่อช่วยให้คนทุกกลุ่มในทุกพื้นที่ทั่วโลกสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้ แม้ในช่วงวิกฤตโควิด-19
คุณชาน เถ่า ผู้อำนวยการ ยูเนสโก IITTE กล่าวว่า “เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับหัวเว่ย องค์กรใหญ่ด้านเทคโนโลยีที่เป็นสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรทางการศึกษาระดับโลกในด้านโควิด-19 ของยูเนสโก (UNESCO COVID-19 Global Education Coalition) ในการจัดสัมมนาผ่านเว็บไซต์ในหัวข้อ การศึกษาออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา ในช่วงโควิด-19 รวมทั้งโครงการอื่นๆ อีกด้วย”
นอกจากนี้ เขายังได้กล่าวเสริมว่า “ในฐานะที่เราเป็นส่วนสำคัญของยูเนสโก หน่วยงาน IITE ได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับพาร์ทเนอร์ทั่วโลกภายใต้โครงการ “ต้านโควิด-19: ร่วมเรียนรู้เพราะเราคือแรงขับเคลื่อน!” (Combat COVID-19: Keep Learning Together, We are on the Move!) หัวใจสำคัญของโครงการนี้คือการร่วมแบ่งปันประสบการณ์ กรณีศึกษาที่ดีที่สุด รวมถึงทรัพยากรที่ดีที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าความพยายามของพวกเราทั้งหมดนั้นมีประสิทธิภาพและสามารถเข้าถึงผู้คนได้อย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เราต้องร่วมสู้ไปด้วยกันเพื่อสนับสนุนนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ และผู้ปกครองอีกกว่าล้านชีวิตที่ต้องการแรงผลักดันนวัตกรรม และความแข็งแกร่งร่วมกัน”
คุณแบรด เฟง ผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาด้านความสามารถอีโคซิสเต็ม (Talent Ecosystem Development Department) ของหัวเว่ย กล่าวว่า “ในระหว่างวิกฤตครั้งนี้ หัวเว่ยได้มอบเงินทุน และแพลตฟอร์มแบบเปิด รวมถึงทรัพยากรด้านการศึกษาที่มีคุณภาพสูงให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยเราจะจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ซึ่งรวมไปถึง การสอน การจัดสอบ การฝึกอบรม การสื่อสาร และการพัฒนาทรัพยากร ด้วยการสนับสนุนการปฏิบัติการของหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ ทั่วโลกอย่างเต็มรูปแบบ และการส่งเสริมการเรียนแบบออนไลน์ โดยเรามุ่งหวังที่จะลดอุปสรรคต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุดสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่ต้องการเรียนจากที่บ้าน”
ระหว่างช่วงแลกเปลี่ยนนั้น คุณแอนน์ เธเรส ด็อง-จัตตา ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาในแอฟริกาของยูเนสโกคุณซู เสี่ยวเฟ่ย รองประธานสถาบันเทคโนโลยีแห่งฮาร์บินคุณหลิว ชูโบ่ว รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แห่งมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น, คุณซามูเอล คินูเธีย จากมหาวิทยาลัยเซเธคแห่งเคนยา คุณเหว่ง ไค่ จากคณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แห่งมหาวิทยาลัย เจ้อเจี้ยงคุณเฉา เจี้ยนหัว ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสแห่งยูเนสโก-ICHEI รวมถึงผู้เชี่ยวชาญอีกหลายท่านจากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วโลกได้ร่วมให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์ของพวกเขาในการพัฒนาแผนการศึกษาออนไลน์ จัดทำการเรียนการสอนออนไลน์ พร้อมทั้งส่งต่อคำแนะนำด้านการจัดการสุขภาพจิตสำหรับกลุ่มนักศึกษาและคณาจารย์ และการใช้ HUAWEI CLOUD WeLink ในการจัดการสอนออนไลน์ในช่วงวิกฤติโควิด-19 อีกด้วย
นอกจากแนวทางการสอนแบบพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ยังได้แบ่งปันทั้งความท้าทายต่างๆ ที่พวกเขาพบจากการศึกษาแบบออนไลน์ และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกัน โดยคุณซเวตลานา นยาเซวา ผู้เชี่ยวชาญจาก ยูเนสโก IITE แนะนำว่ามหาวิทยาลัย กลุ่มธุรกิจ และองค์กรการศึกษาต่างๆ ควรเปิดเผยแหล่งการเรียนรู้ พร้อมทั้งสรรสร้างและแบ่งปันระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่เป็นระบบเปิดต่อสาธารณชน (MOOC) เพื่อช่วยเหลือสถาบันทางการศึกษาอื่นๆ ด้วยการศึกษาแบบออนไลน์
ในช่วงท้าย คุณหวู่ ลินเถา ผู้อำนวยการฝ่ายพันธมิตรทางการศึกษาและการพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านความสามารถ ของหัวเว่ย ได้แนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมไปถึงข้อกำหนดใหม่ของหัวเว่ย อะคาเดมี่ทั่วโลกท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ดังนี้:
·      การมอบเงินจากกองทุนเสริมสร้างแรงจูงใจเพื่อการพัฒนาทางการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากหัวเว่ย ไอซีที อะเคเดมี่ (Huawei ICT Academy Development Incentive Fund หรือ ADIF) รวมทั้งสิ้น ล้านเหรียญสหรัฐ ให้แก่วิทยาลัยพันธมิตรต่างๆ สำหรับการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น หลักสูตรออนไลน์การฝึกอบรมออนไลน์ และการทดลองออนไลน์
·      การเปิดแหล่งการเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นระบบเปิดต่อสาธารณชน (MOOC) ซึ่งจะครอบคลุมถึงด้านเทคนิคขั้นสูง อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI), Big Data, 5G และ Internet of Things (IoT)
·      การจัดเตรียมโครงการอบรมผู้ฝึกสอน (Train the Trainer – TTT) กว่า 100 ชั้นเรียน ระหว่างเดือนเมษายนถึงธันวาคม โดยคาดว่าจะมีอาจารย์กว่า 1,500 ท่านที่เข้ารับการอบรมนี้
·      คาดการณ์ว่าจะมีนักศึกษากว่า 50,000 คนเข้ารับการอบรมผ่านชั้นเรียนและหลักสูตรเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านทางระบบออนไลน์นี้

การหยุดชะงักของการศึกษาเนื่องจากวิกฤตนี้อาจเป็นการเพิ่มช่องว่างทางการศึกษาระหว่างภูมิภาคและประเทศต่างๆ รวมถึงทำให้การแบ่งแยกทางดิจิทัลทวีความรุนแรงมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหานี้ การศึกษาทางไกลผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหนึ่งในมาตรการที่สำคัญและมีประสิทธิภาพ แพลตฟอร์มการสื่อสารที่ราบรื่น แหล่งการสอนการเรียนรู้ที่เหมาะสม รวมถึงบริการเสริมที่ใช้งานได้สะดวกและทันท่วงทีจะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการศึกษาออนไลน์ในระดับมหภาค
หัวเว่ยมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะแบ่งปันประสบการณ์การศึกษาออนไลน์ให้แก่มหาวิทยาลัยและองค์กรทางการศึกษาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยทางบริษัทมีแผนจะเพิ่มการลงทุน ยกระดับโครงสร้างทรัพยากรดิจิทัล และส่งเสริมการเข้าสู่ยุคดิจิทัล เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงการศึกษาคุณภาพสูงอย่างทั่วถึงต่อไป
ใหม่กว่า เก่ากว่า