Huawei - Deloitte ร่วมมือจัดทำสมุดปกขาว ศึกษาวิธีใช้ 5G สู้ Covid-19


ภายใต้ความร่วมมือกับหัวเว่ย บริษัทดีลอยท์ (Deloitte) ได้เผยแพร่รายงานสมุดปกขาว วิเคราะห์ความสามารถในการใช้งานฟีเจอร์หลักๆ ของเทคโนโลยี 5G ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการป้องกันและรักษาโรคระบาดใหญ่ รวมทั้งผลักดันดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นของระบบสาธารณสุขเพื่อรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินในระดับสาธารณะครั้งใหญ่
สมุดปกขาวซึ่งใช้ชื่อว่า “สู้โรคโควิด-19 ด้วย 5G: โอกาสพัฒนาระบบสาธารณสุข” (Combating COVID-19 with 5G: Opportunities to improve public health systems) เป็นการวิเคราะห์ตัวอย่างของการควบคุมและการรักษาโรคโควิด-19 ในประเทศจีน เพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับความต้องการข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องแต่ละฝ่ายในช่วงที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินในระดับสาธารณะครั้งใหญ่นี้
นอกจากรายงานดังกล่าวจะนำเสนอผลการค้นคว้าเหล่านี้แล้ว ยังกล่าวถึงประเด็นที่ว่าฟีเจอร์หลักๆ ของเทคโนโลยี 5G เช่น การเชื่อมต่อความเร็วสูง ศูนย์รวมจุดเชื่อมต่อขนาดใหญ่ ค่าความหน่วงต่ำ และแบนด์วิดท์ข้อมูลขนาดใหญ่ จะสามารถใช้งานร่วมกับเทคโนโลยี Big Data, AI, และ Cloud เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการป้องกันโรคระบาดใหญ่ได้อย่างไรบ้าง โดยฟีเจอร์เหล่านี้สามารถแก้ไขอุปสรรคด้านการส่งผ่านข้อมูลในช่วงที่เกิดโรคระบาด อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ และวิธีการรักษาใหม่ๆ พร้อมกันไปด้วย
ในบรรดาผลการค้นคว้าทั้งหมด สมุดปกขาวระบุว่าประสิทธิภาพของการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการคัดกรองหาผู้ติดเชื้อและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค  นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายอุปกรณ์มือถือที่มีความเสถียรสูงอย่าง 5G ยังทำให้สามารถเฝ้าสังเกตอาการจากระยะไกลได้อย่างต่อเนื่องและสามารถวินิจฉัยอาการระหว่างเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ รวมทั้งสามารถช่วยสนับสนุนถ่ายภาพความร้อน (thermal imaging) เพื่อตรวจหาการแพร่กระจ่ายของโรคติดต่อ ทั้งนี้ แพลตฟอร์มที่รองรับการเฝ้าระวังโรคระบาดใหญ่ศูนย์บัญชาการภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ทางไกล สิ่งเหล่านี้คือตัวอย่างวิธีการประยุกต์ใช้ 5G ให้เกิดประโยชน์หลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และยกระดับประสิทธิภาพขึ้นอย่างรวดเร็ว
ในท้ายที่สุดแล้ว ระบบสาธารณสุขที่สามารถเชื่อมต่อถึงกันด้วย 5G จะได้ประโยชน์จากระยะเวลาตอบสนองรับมือสถานการณ์ที่รวดเร็วยิ่งขึ้นเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยได้ดีขึ้น, รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นการประสานงานทางไกลได้, และการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดเป็นแบบอย่างของการสร้างแพลตฟอร์มรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะที่เป็นแบบดิจิทัล ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และมีรากฐานอยู่บนเทคโนโลยีคลาวด์
ในประเทศจีน หัวเว่ยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลั Huazhong University of Science & Technology and Lanwon Technology เพื่อพัฒนาและเปิดตัวบริการผู้ช่วย AI สำหรับวิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์เชิงปริมาณสำหรับโรคโควิด-19
ด้วยเทคโนโลยี AI ชั้นนำอย่างคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) และการวิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์ บริการดังกล่าวจะสามารถรายงานผลการตรวจ (CT quantification) ให้แก่รังสีแพทย์และอายุรแพทย์ได้โดยอัตโนมัติ ช่วยแก้ไขสถานการณ์การขาดแคลนรังสีแพทย์ที่สามารถวินิจฉัยโรคโควิด-19 อย่างแม่นยำ ช่วยลดความกดดันในงานด้านการกักตัวผู้ป่วย และช่วยลดภาระงานให้กับแพทย์ได้เป็นอย่างมาก
สมุดปกขาวระบุว่าความสำเร็จของการประยุกต์ใช้ 5G กับระบบสาธารณสุขจะสร้างแรงบันดาลใจให้ธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ต้องการจะยกระดับความแพร่หลายของ 5G และสำรวจหารูปแบบใหม่ๆ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวสำหรับการจัดการสมาร์ทซิตี้ ซึ่งอาจรวมถึงการจัดสรรทรัพยากรการผลิต การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการบำรุงรักษาระบบคมนาคมขนส่
หัวเว่ยได้ร่วมงานกับพาร์ทเนอร์ระดับโลกในโครงการ 5G จำนวนมาก และครอบคลุมขอบเขตต่างๆ มากมาย เช่น สาธารณสุข สื่อใหม่ (new media) เครือข่ายแคมปัส และการศึกษา โดยหัวเว่ยมีแผนจะลงทุนเป็นมูลค่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับการประยุกต์ใช้ 5G อย่างสร้างสรรค์ ผ่านโครงการ 5G Partner Innovation Program เพื่อผลักดันการสร้างอีโคซิสเต็มในอนาคตของเครือข่ายสัญญาณ 5G ในอีก ปีข้างหน้า
ในฐานะผู้ให้บริการ 5G ชั้นนำระดับโลก หัวเว่ยคว้าสัญญาพัฒนาระบบ 5G เชิงพาณิชย์มาแล้วกว่า 91 ฉบับ และยังได้ส่งมอบเสากระจายสัญญาณ (Active Antenna Unit – AAUs) 5G Massive MIMO 5ไปแล้วมากกว่า 600,000 ยูนิต
ใหม่กว่า เก่ากว่า