Huawei เปิดตัวโซลูชัน 5G ชุดใหม่ ตอบโจทย์ความต้องการใหม่จากภาคอุตสาหกรรม ชี้เกณฑ์การวางแผนออกแบบเครือข่ายและระบบสร้างรายได้ที่ทันสมัยสำคัญอย่างยิ่งต่อ 5G ที่มีคุณภาพ


หัวเว่ยเปิดตัวเกณฑ์การวางแผนออกแบบเครือข่ายที่อิงจากประสบการณ์การให้บริการ 5เป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรม พร้อมกับโซลูชันด้านการสร้างรายได้Monetization Solution สำหรับเครือข่าย 5G แบบStandalone (SA) และโซลูชันเครือข่ายฝาแฝดบนบนวิศวกรรมดิจิทัล 5G (Site Digital Twins Based 5G Digital Engineering Solution) เพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยหัวเว่ยได้เน้นย้ำว่า เกณฑ์การออกแบบเครือข่าย” (Network Planning Criteria) สำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ให้บริการ เพราะเป็นสิ่งที่จะรับรองว่าผู้ใช้งานจะได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการให้บริการสัญญาณ 5G ทั้งนี้ เพื่อเอาชนะอุปสรรคและความท้าทายของโมเดลธุรกิจ5G ซี่งนอกจากจะต้องมีระบบบิลลิ่งที่รวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน เพื่อรองรับผู้บริโภค ยังต้องเป็นระบบที่คล่องตัวและเปิดกว้าง เพื่อให้พาร์ทเนอร์สามารถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว



เกณฑ์การวางแผนออกแบบระบบเครือข่ายที่อิงจากประสบการณ์บริการ 5G เป็นครั้งแรก
หัวเว่ยเปิดตัวเกณฑ์การวางแผนออกแบบเครือข่ายที่อิงจากประสบการณ์การให้บริการ 5เป็นครั้งแรก ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวจะช่วยให้บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถพบกับความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากการเปิดบริการใหม่ในยุค 5Gซึ่งจะมีความต้องการที่แตกต่างกันตามประสบการณ์การใช้งาน นอกจากนี้ เกณฑ์ดังกล่าวยังช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถเปลี่ยนจากการออกแบบเครือข่ายที่อิงจากบริการโทรคมนาคมแบบเดิม มาสู่การออกแบบเครือข่ายโดยอิงจากประสบการณ์การให้บริการแบบดิจิทัลแทน เช่นนี้แล้ว การออกแบบเครือข่ายของผู้ให้บริการก็จะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการลงทุนก็จะแม่นยำยิ่งขึ้น พร้อมมอบประสบการณ์การใช้งานที่มีคุณภาพให้กับผู้ใช้ 5G
เป้าหมายสูงสุดของการวางแผนออกแบบเครือข่ายคือเพื่อรับรองว่าผู้ใช้งานจะได้รับประสบการณ์ที่ดี และจะต้องได้บริการที่ตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อก่อนในยุค4G เกณฑ์การวางแผนออกแบบเครือข่ายมีไว้เพียงเพื่อให้ได้มาตรฐานด้านปริมาณงานและความครอบคลุม แต่ในยุค 5G นั้นต้องการมาตรฐานที่สูงกว่า ทั้งในแง่ของอัตราการส่งผ่านข้อมูล (rate) และค่าความหน่วง(latency) เนื่องจากมีบริการบรอดแบนด์เคลื่อนที่(enhanced mobile broadband หรือ eMBB) ซึ่งอยู่ในรูปแบบของคลาวด์เวอร์ชวลเรียลลิตี้ (CloudVR) และบริการในอุตสาหกรรมเดียวกันแบบแนวดิ่ง เช่น โรงงานอัจฉริยะ (smart factory) บริการสุขภาพอัจฉริยะ(smart healthcareและระบบพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ(smart electricity)
ด้วยเหตุนี้ หัวเว่ยจึงเสนอโมเดลใหม่ที่ชื่อว่าSmartCare® E-Planning และสร้างเกณฑ์การออกแบบเครือข่ายเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมที่อิงกับประสบการณ์การให้บริการ 5G จากโมเดลดังกล่าว โมเดล SmartCare® E-Planning ของหัวเว่ยประกอบไปด้วยแผนภาพ “3 ระดับ” และ “2 ขั้นตอน” โดยเริ่มจากประสบการณ์ผู้ใช้งาน ข้อกำหนดด้านคุณภาพการให้บริการ ไปจนถึงเกณฑ์มาตรฐานของศักยภาพที่เครือข่ายควรทำได้ ส่วนแผนภาพ 2 ขั้นตอนนั้น แบ่งประสบการณ์ผู้ใช้ออกเป็นเกณฑ์การออกแบบเครือข่ายที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงสำหรับผู้ให้บริการเครือข่าย ทั้งนี้ สำหรับการวางกรอบให้กับเกณฑ์ดังกล่าว หัวเว่ยได้เสนอและปรับใช้ผลการวิจัยของบริษัทตนทั้งหมด หัวข้อ ได้แก่ ใช้โมเดล TBR สำหรับปริมาณข้อมูลที่สามารถรับและส่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (throughput)ใช้โมเดล Burst สำหรับการรักษาสมดุลค่าความหน่วงและแบนด์วิดท์ใช้โมเดล MTPสำหรับค่าความหน่วง, ใช้โมเดล PLR สำหรับ packet loss, ใช้Piecewise Fitting Methodology สำหรับความครอบคลุมของสัญญาณ (Coverage) และใช้ Unified Planning กับ Domain Based Design แบบครบวงจร ทั้งนี้ ด้วยโมเดล SmartCare® E-Planning นับว่าหัวเว่ยได้เสนอเกณฑ์การวางแผนออกแบบเครือข่ายโดยอิงจากประสบการณ์สำหรับบริการวิดีโอ 5G ทั้งแบบ 2Cและ 2B
ตลอดช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ลงทุนไปกับการเพิ่มพูนประสบการณ์การให้บริการตลอดมา พร้อมทั้งได้จัดตั้งความร่วมมือเชิงลึกกับองค์กรมาตรฐานในอุตสาหกรรมและพันธมิตรในอุตสาหกรรมมากกว่า 10แห่ง รวมถึงพาร์ทเนอร์ระดับโลกอีกมากกว่า 50 แห่ง ด้วยการสนับสนุนจาก Experience lab (eLAB) โมเดลHuawei SmartCare® ซึ่งไม่เพียงเป็นตัวอย่างการออกแบบระบบเครือข่ายที่แม่นยำโดยอิงกับประสบการณ์บริการ 5G เท่านั้น แต่ยังเป็นโซลูชันด้านการบริหารประสบการณ์ของลูกค้า (CEM) 5G โซลูชันแรกของอุตสาหกรรมที่เป็นรูปเป็นร่าง จัดการได้ง่าย และสามารถอัพเกรดได้ ฟีเจอร์นี้จะช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถรับรองได้ว่าจะมอบประสบการณ์การให้บริการ 5G แบบครบวงจร ตั้งแต่การวางแผนออกแบบเครือข่าย ไปจนถึงการบริหารประสบการณ์การใช้บริการ (service experience management) ได้อย่างแน่นอน



โซลูชันด้านการสร้างรายได้สำหรับเครือข่าย 5Gแบบ Standalone (SA) โซลูชันแรกของอุตสาหกรรม
นอกเหนือจากการจัดตั้งเกณฑ์การออกแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพของเครือข่ายแล้ว ระบบการ monetizationหรือการสร้างรายได้ก็สำคัญต่อผู้ให้บริการเครือข่าย5G ในแง่ของการสร้างโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืนเช่นกัน นายร็อกเรด จาง (Rockred Zhang) ประธานหน่วยงานธุรกิจซอฟต์แวร์ของหัวเว่ย ให้ความเห็นว่า “5G เผชิญกับความท้าทายหลายประการในแง่ของโมเดลธุรกิจและอีโคซิสเต็ม การจะประสบความสำเร็จกับการสร้างรายได้ในทุกระดับจากผู้ใช้ปลายทางทั้งหมด ทั้งผู้ใช้ประเภทบุคคล ครัวเรือน และองค์กร จำเป็นต้องมีระบบบิลลิ่งที่เป็นเอกภาพ นอกจากนี้ ระบบที่คล่องตัวและเปิดกว้างก็สำคัญอย่างยิ่งต่อการที่จะทำให้พาร์ทเนอร์สามารถขยายธุรกิจของตนเองได้รวดเร็วมากพอ ดังนั้น หัวเว่ยจึงเปิดตัวระบบ CBS R20 เพื่อเร่งให้การสร้างรายได้เป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น 
เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรม หัวเว่ยได้เปิดตัว Convergent Billing System (CBS) R20โซลูชันด้านการสร้างรายได้สำหรับเครือข่าย 5G แบบStandalone (SA) โซลูชันแรกของอุตสาหกรรม ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โซลูชันนี้ได้รับการติดตั้งบนเครือข่าย 5G แบบ SA ของบริษัท stc Kuwait แล้ว ในขณะที่ฟีเจอร์ “Dedicated Access” จะส่งมอบให้กับองค์กรต่างๆ พร้อมการรับประกันข้อตกลงระดับการให้บริการ (SLAs) นอกจากการลงทุนในด้านการสร้างรายได้มาเป็นเวลานาน หัวเว่ยยังได้พัฒนาระบบ CBS R20เพื่อการเป็นผู้นำอุตสาหกรรมในด้านการสร้างรายได้ การสร้างมาตรฐาน และสถาปัตยกรรมของระบบ ด้วยการร่วมมืออย่างกว้างขวางกับพาร์ทเนอร์ด้านการสำรวจโมเดลธุรกิจบริการ 5G หัวเว่ยได้พัฒนาระบบCBS R20 ขึ้นเพื่อรองรับส่วนผสมทางธุรกิจจำนวนมหาศาลที่มีตัวแปรด้านการบิลลิ่งมากกว่า 1,000รายการ จากหลากหลายมิติที่แตกต่างกัน รวมทั้งส่วนผสมของรูปแบบบริการ 5G มากกว่า 100 รายการ
ปัจจุบันระบบ CBS ของหัวเว่ยให้บริการแก่สมาชิกกว่า2,200 ล้านรายจากพันธมิตรผู้ให้บริการที่ผ่านการรับรองคุณสมบัติ (CSPs) มากกว่า 200 รายทั่วโลก โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์บริการระดับโลก 8แห่ง ศูนย์เดลิเวอรี แห่ง และศูนย์วิจัยและพัฒนา(R&Dแห่ง หัวเว่ยเปิดตัวโครงการมากกว่า 20โครงการในปี 2019 โดยมีสมาชิกมากกว่า 360 ล้านรายที่พร้อมแล้วสำหรับบริการ 5G ใหม่ล่าสุด 



โซลูชันเครือข่ายฝาแฝดตัวแรกบนวิศวกรรมดิจิทัล5G
นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวโซลูชันด้านวิศวกรรมดิจิทัล 5G ซึ่งเป็นโซลูชันแรกของอุตสาหกรรมที่ทำงานบนแนวคิดของเครือข่ายดิจิทัลฝาแฝดตัวแรกที่นำเสนอโดยหัวเว่ย โดยโซลูชันจะสร้างแบบจำลองดิจิทัลของไซต์ของจริง ทำให้สามารถจัดการไซต์ตัวจริงได้ผ่านระบบดิจิทัล ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติโมเดลการส่งมอบไซต์ในปัจจุบัน และจะพร้อมช่วยเร่งให้เกิดการติดตั้ง 5G ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ไซต์เครือข่ายดิจิทัลแบบแฝดจะทำให้สามารถจัดการโครงสร้างพื้นฐานของไซต์ผ่านระบบดิจิทัลร่วมกันได้ตลอดทั้งระบบ เริ่มตั้งแต่การวางแผน การออกแบบ การติดตั้ง และการดูแลรักษา โดยไซต์เครือข่ายดิจิทัลแบบแฝดทำให้หัวเว่ยได้ใช้ประโยชน์จากการเทคโนโลยีภาพถ่ายขั้นสูง (Photogrammetry), เทคโนโลยี AIและนำเสนอโมเดลการสร้างแบบจำลองข้อมูลโทรคมนาคม (T-BIM) และรายละเอียดสเป็คของเครือข่ายดิจิทัลให้กับอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพื่อปรับเปลี่ยนโมเดลการส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการในรูปแบบดิจิทัลในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ทำให้การติดตั้งรวดเร็วและแม่นยำขึ้นด้วยการใช้มุมมองแบบ มิติและ AR ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ เพื่อแนะแนววิธีการปฏิบัติงานที่ไซต์ในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังช่วยลดการส่งทรัพยากรบุคคลไปที่ไซต์หลายๆ รอบเพื่อแก้ไขปัญหา ด้วยการเปลี่ยนจากระบบการแก้ไขแบบหน้างาน ไปสู่การใช้เทคโนโลยีจดจำภาพโดยใช้ AI ทั้งนี้ โซลูชันวิศวกรรมดิจิทัล 5G สำหรับการใช้งานระหว่างองค์กร(E2E) นี้จะช่วยลดเวลาในการสร้าง และปรับปรุงคุณภาพของการสร้างเครือข่าย 5G ได้เป็นอย่างมาก


หัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายหลายรายจากยุโรปตะวันตก ตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้ และประเทศจีนในการพัฒนาโซลูชันวิศกรรมดิจิทัล 5G และในอนาคต หัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าลงทุนในด้านการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 5G และเทคโนโลยี  AI เพื่อให้สามารถนำไปสู่การส่งมอบแบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบรวมทั้งเป็นผู้นำด้านการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้จงได้
ใหม่กว่า เก่ากว่า