ไขข้อสงสัย ‘3 ความเข้าใจผิด’ เกี่ยวกับ 5G


หลังจากเสร็จสิ้นการประมูลคลื่นความถี่ 5Gไปเมื่อไม่นานมานี้ ตลาด 5G ในประเทศไทยก็เริ่มคึกคักขึ้นทันตา แต่หลายคนอาจยังมีข้อสงสัยหรือเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G อยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นประเด็นที่ว่า 5G ที่ว่าเร็วนั้นเร็วแค่ไหน ทำอะไรได้บ้าง ดีกว่า 4G อย่างไร ทำไมเราจึงต้องตื่นเต้นกับเทคโนโลยีใหม่ตัวนี้

 

1. มือถือ 5G แค่เล่นอินเทอร์เน็ตได้เร็วกว่ามือถือ 4G?

หลายคนมองว่า 5G คือ 4G เวอร์ชันอัพเกรด หรือมองว่า 4G ปัจจุบันก็เล่นอินเทอร์เน็ตได้ลื่นปรื้ดแล้ว 5G คงไม่ได้เร็วไปกว่ากันสักเท่าไรนัก

แต่ความจริงคือนอกจากจะเร็วขึ้นแล้ว มือถือ 5G ยังสามารถรองรับการใช้งานรูปแบบใหม่ๆ ได้อีกมากมายในอนาคต ซึ่งความเร็วของ 4G ไม่สามารถทำได้ เช่น บริการเกมผ่านคลาวด์ (Cloud gaming) หรือการนำ 5Gไปประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี VR และ 3D

อย่างเช่นการใช้บริการเกมผ่านคลาวด์ เมื่อก่อนหากจะเล่นเกมเราจำเป็นต้องดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหมดลงมาก่อน ระหว่างที่เล่นเกมก็ต้องเจอกับข้อจำกัดของความเร็วเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่การใช้งานบริการเกมผ่านคลาวด์ในยุคของ 5G จะไม่ต้องดาวน์โหลดข้อมูลใดๆ เพราะว่าภาพทั้งหมดของเกมจะอยู่บนระบบ Cloud Computing และ Cloud Rendering เมื่อส่งผ่านมายังมือถือด้วยสัญญาณ 5G ที่เร็วและค่าหน่วงเวลาต่ำ จะทำให้ผู้ใช้ได้สัมผัสประสบการณ์ที่เหมือนอยู่ในเกมจริงๆ

 

2. รีบซื้อมือถือ 5G ตั้งแต่ตอนนี้ ระวังจะต้องซื้อใหม่อีกตอนระบบเสถียรกว่านี้

บางคนพูดกันว่าถึงแม้เราจะมีสัญญาณ 5Gแล้วแต่การใช้งานยังคงไม่ค่อยเสถียรนัก ถ้าซื้อมือถือ 5G ตอนนี้ เราจะตกเป็นหนูทดลองหรือเปล่า และอาจต้องซื้อใหม่อีกเมื่อมีการปรับปรุงระบบจนเสถียรและสมบูรณ์

แต่! ความจริงแล้ว 5G มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน นั่นคือ NSA (Non-standalone) และ SA(Standalone)

ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับ NSA แล้ว SA จะทำให้ผู้ใช้ได้สัมผัสประสิทธิภาพที่สูงในระดับไม่แพ้กับอินเทอร์เน็ตแบบ ADSL และยัง ใช้แบตเตอรีน้อยลง มีความหน่วงในการรับส่งข้อมูลที่ลดลง จึงทำให้เครือข่ายตอบสนองเร็วขึ้นไปด้วย หรือจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นคือ NSA เปรียบได้กับรถไฟธรรมดาที่วิ่งบนรางเหล็ก ไม่สามารถยกระดับความเร็วสูงสุดได้อีกต่อไปแล้ว แต่ SA เปรียบเสมือนรถไฟความเร็วสูงที่ใช้มาตรฐานใหม่ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นตัวรางและขบวนรถไฟ

ดังนั้นการเลือกซื้อมือถือ 5G ตอนนี้สามารถทำได้อย่างแน่นอน และที่สำคัญคือต้องเลือกมือถือที่รองรับ 5G ทั้งสองแบบ อย่างเช่นHUAWEI Mate 30 Pro 5G ที่เพิ่งวางขายเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ก็รองรับ 5Gทั้งแบบ NSA และ SA ดังนั้นไม่ว่าจะใช้เครือข่าย 5G แบบใด ผู้ใช้ก็ยังคงสามารถสัมผัสประสบการณ์ 5G ที่ลื่นไหลและทรงประสิทธิภาพได้อย่างแน่นอน

 

3. เพิ่งเริ่มใช้ 5G เชิงพาณิชย์ มือถือ 5Gต้องกินแบตเตอรีแน่ๆ เลย

หลายคนอาจไม่แน่ใจว่ามือถือ 5G ที่ผลิตออกมารุ่นแรกๆ จะอึดพอไหมสำหรับการใช้งานเครือข่าย 5G อย่างต่อเนื่องและยาวนาน เพราะเครือข่ายที่รวดเร็วขึ้นย่อมหมายความว่าเครื่องต้องทำงานหนักขึ้น

แต่ความเป็นจริงคือแน่นอนว่าโทรศัพท์ที่ชิปเซ็ตและโมเด็มทำงานแยกกัน ย่อมทำให้เครื่องร้อนและแบตเตอรีหมดเร็ว ทว่าขณะเดียวกันก็มีโทรศัพท์มือถือที่ชิปเซ็ตทำงานร่วมกับโมเด็ม อย่าง HUAWEI Mate 30 Pro 5Gที่มากับชิปเซ็ต  Kirin 990 5G ซึ่งบรรจุโมเด็ม Balong 5000 ไว้ในตัว ช่วยยืดระยะเวลาการทำงานให้ยาวนานต่อเนื่องตลอดทั้งวัน

เปรียบได้กับว่าเรามีเพื่อนสนิททำงานอยู่ในออฟฟิศเดียวกัน ต่างคนต่างเชี่ยวชาญงานของตนเอง ทั้งยังรู้ใจกันและทำงานเข้าขากันได้ดี ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมราบรื่นและมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน

ใหม่กว่า เก่ากว่า